กลับไปหน้าหลัก

Book Review : เชื้อเพลิงทางเลือก

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

 
เชื้อเพลิงทางเลือก





จากการอภิปรายในหัวข้อเชื้อเพลิงทางเลือกอื่นสำหรับภาคขนส่งสรุปได้ว่า

                    
           เป็นที่ยอมรับกันว่าระบบขนส่งด้วยรางและระบบขนส่งทางน้ำเป็นระบบที่ควรได้รับการส่งเสริมให้มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องมีระบบขนส่งทางถนนด้วย
           • รถยนต์ที่ใช้กันโดยทั่วไปในประเทศไทยยังมีประสิทธิภาพต่ำ สิ้นเปลืองน้ำมันมาก และปล่อยมลพิษ รวมถึงปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง
           • ในปี พ.ศ. 2553 จะเริ่มมีการผลิตอีโค-คาร์ (Eco-car) ซึ่งกำหนดให้มีขนาดความจุกระบอกสูบของเครื่องยนต์ระหว่าง 1300 – 1400 ซีซี มีอัตราการใช้น้ำมันดีกว่า 20 กม./ลิตร มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมยูโร 4 และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่า 120 กรัม/กม. เป็นต้น
           • ปัจจุบันมีการจำหน่ายรถยนต์ลูกผสม (Hybrid car) อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ และได้รับความนิยมสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากกินน้ำมันเชื้อเพลิงต่ำ อาจประหยัดน้ำมันได้ถึง 50% ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการออกแบบและการใช้งาน รถยนต์ลูกผสมส่วนใหญ่ใช้การขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในร่วมกับพลังงานไฟฟ้า
           • ภายใน 1-2 ปีนี้ จะมีการจำหน่ายรถยนต์ลูกผสม ปลั๊กอิน (Hybrid – plug-in) ซึ่งจะใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนรถยนต์มากขึ้น อาจเดินทางได้ถึง 60 กม. โดยใช้เพียงพลังงานไฟฟ้า ต่อจากนั้นเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในจึงจะทำงาน การชาร์จแบตเตอรี่แต่ละครั้งอาจใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง หากต้องการชาร์จให้เต็ม อาจชาร์จทิ้งไว้ทั้งคืน เทคโนโลยีตัวนี้น่าจะได้รับการสนับสนุนให้มีการใช้และ/หรือผลิตในประเทศ หากมีตลาดมากพอ
           • ปัจจุบันมีการจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าอยู่บ้าง ซึ่งมักเป็นรถยนต์ขนาดเล็ก วิ่งได้ต่ำกว่า 80 กม.
           • สำหรับการชาร์จ 1 ครั้ง ซึ่งยังต้องการการพัฒนาให้วิ่งได้หลายร้อยกิโลเมตรสำหรับการชาร์จ 1 ครั้ง และสามารถชาร์จได้อย่างรวดเร็วภายในเวลา 15 นาที คาดว่ายังจะใช้เวลาอีกหลายปี รถยนต์ไฟฟ้าดังกล่าวมักเรียกกันว่ารถยนต์ไฟฟ้า-ปลั๊กอิน (Plug-in electric car) เป็นที่เชื่อกันว่ารถยนต์ไฟฟ้า-ปลั๊กอิน จะเข้ามาทดแทนรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เผาไหม้ภายในเกือบทั้งหมดภายในเวลาประมาณ 20 ปี
                            
                                




  • การใช้เอทานอลเพียง 10% กับน้ำมันเบนซิน ซึ่งเรียกกันว่า E10 จะมีประโยชน์มาก เพราะเป็นการทดแทนการใช้สาร MTBE เพื่อการเพิ่มตัวเลขออกเทน สาร MTBE เป็นสารก่อมะเร็ง และถูกห้ามใช้ในบางประเทศ หากผสมมากขึ้น เช่น E20 ก็ยังมีประโยชน์ แต่หากผสมสูงถึง 85% (E85) อาจจะมีคำถามว่าเหมาะสมหรือไม่ เนื่องจากวัตถุดิบคงจะมีไม่เพียงพอ
           เอทานอลได้จากการหมักน้ำตาล ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ในปัจจุบันในประเทศไทย ได้แก่ แป้ง และน้ำตาล หากใช้วัตถุดิบจำพวกแป้ง จะต้องใช้พลังงานฟอสซิลในการผลิตเอทานอลสูงถึง 70% ซึ่งอาจไม่ได้ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากนัก นอกจากนี้มีไม่กี่ประเทศที่สนับสนุนการใช้ E85 ดังนั้นเครื่องยนต์สำหรับ E85 อาจมีขนาดของตลาดค่อนข้างเล็กมาก และไม่น่าจะมีตลาดเพื่อส่งออกในอนาคต
           • รถยนต์ไฟฟ้า-ปลั๊กอิน มีข้อดีคือ ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หากว่าการผลิตไฟฟ้าไม่มีการปล่อยก๊าซดังกล่าวเช่นกัน เช่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน หรือแม้แต่โรงไฟฟ้าถ่านหิน หากมีการจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไว้อย่างถาวร ในกรณีหลังนี้มีต้นแบบแล้ว

 


          การขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก น่ายังจะมีความจำเป็นต่อไป ดังนั้นไบโอดีเซลจึงเป็นเชื้อเพลิงทางเลือก
           • ไบโอดีเซลที่ผลิตจากน้ำมันปาล์มใช้พลังงานฟอสซิลต่ำกว่า 20% ซึ่งดีกว่าเอทานอลมาก ประเด็นนโยบายที่สำคัญคือ การกำหนดร้อยละของไบโอดีเซลที่จะนำมาผสมกับน้ำมันดีเซล เพราะหากกำหนดให้สูงเกินไป จะมีปัญหาเรื่องวัตถุดิบมีไม่เพียงพอ และจะกระทบถึงอุตสาหกรรมอาหารและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หากผสมเพียง 2% ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องวัตถุดิบไม่เพียงพอ
           • รถยนต์ที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิง ยังจะไม่มีผลิตขายกันอย่างแพร่หลายในระยะเวลาอันใกล้ เนื่องจากยังต้องวิจัยและพัฒนาอีกนานพอสมควร
           • ควรเปลี่ยนแปลงนโยบายโครงสร้างภาษีรถยนต์จากเดิม ซึ่งคิดภาษีตามปริมาตรกระบอกสูบของเครื่องยนต์เป็นการคิดภาษีตามความสิ้นเปลืองพลังงาน (กม./ลิตร) และ/หรือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (กรัม CO2/กม.)

ข้อดี   
หนังสือเล่มนี้รวมเกล็ด เคล็ดลับ กลวิธีและแนวคิดหลายร้อยวิธีที่ใส่ใจธรรมชาติ  ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อให้ชีวิตและสุขภาพดีขึ้น หัวข้อนำเสนอมีหลากหลายหัวข้อ เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านที่ใช้เอง  เครื่องปรับอากาศกินไฟน้อย ทำสวนแบบรักษ์โลก  และการขับขี่ที่ใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ ทุกคำแนะนำใช้ได้จริงและจูงใจให้คุณปรับกิจวัตรประจำวันเล็กๆน้อยๆแต่ได้ประโยชน์มหาศาล

ข้อเสีย  
 เป็นหนังสือเล่มหนา  ถึงจะสีสันสดใสแต่ถ้าคนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือเห็นแล้วก็อาจทำให้ไม่อยากหยิบอ่านภาษาที่ใช้ในการเขียนหนังสือเป็นเชิงวิชาการเกินไปทำให้อ่านไม่ค่อยเข้าใจและดูน่าเบื่อเกินไป


ข้อเสนอแนะ
หนังสือเล่มนี้น่าจะทำเป็นเล่มเล็กๆ เพื่อให้เป็นที่สนใจแก่ผู้ที่พบเห็น และอยากที่จะหยิบอ่านเพราะหนังสือเล่มนี้มี สีสันสดใจ มีภาพประกอบที่เห็นแล้วน่าสนใจ แต่ภาษาที่ใช้เป็นทางการเกินไป ควรปรับภาษาเล็กน้อยให้เป็นแบบภาษาที่อ่านง่ายก็น่าจะมีคนสนใจมากขึ้น









บทความโดย  นางสาวบุษบา สารักษ์ 5223410540
หนังสือ รีดเดอริส ไดเจสท์ 1001วีซี อยู่สบายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Book Review : ภัยพิบัติ รู้จริง รู้รอบ ปลอดภัย


"ภัยพิบัติ"
รู้จริง   รู้รอบ   ปลอดภัย
                  นับจากวันนี้มนุษย์จะไม่ได้อาศัยอยู่ในโลกใบที่คุณคุ้นเคยอีกต่อไปเพราะโลกกำลังเกิดเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่  ภัยธรรมชาติจะเกิดบ่อยครั้งและหนักขึ้นอาทิ เช่น สึนามิ  แผ่นดินไหว  ภัยแล้ง  ไฟป่า  พายุถล่ม  ภูเขาไฟระเบิด  น้ำท่วม  จะเกิดบ่อยขึ้น ทุกวันนี้ผู้คนกำลังเผชิญกับภัยร้ายที่เกิดกำลังเกิดขึ้นกับโลกของเรา  จนทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไปอย่างมากมาย  จะเห็นได้จากภัยพิบัติร้ายแรงจากหลายๆประเทศที่กำลังประสบอยู่ทั้งไฟไหม้ป่า  แผ่นดินไหว  ดินถล่ม  น้ำท่วม  พายุ    รวมไปถึงสภาวะโลกร้อน  ปัญหาที่หลาๆประเทศกำลังถกเถียงกันอยู่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นใครเป็นผู้ทำลายมากที่สุด  เรื่องเหล่านี้กำลังสะท้อน  ให้เห็นว่า  โลกของเรากำลังถูกทำลายจากสิ่งไหนกันแน่  จากธรรมชาติหรือว่าเกิดจากฝีมือมนุษย์เอง ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นนั้นมีผลกระทบมากมายและร้ายแรงจนเป็นภัยพิบัติที่สร้างความเดือดร้อนให้กับมนุษย์ทั้งชีวิตและทรัพย์สินและนับวันภัยเหล่านี้ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆดังนั้นเราจึงควรที่จะต้องเรียนรู้และตระหนักกับเรื่องนี้กันอย่างจิงจังโดย สร้างความจิตสำนึกในการดูแล  รักษาและหวงแหนธรรมชาติ  ให้กับธรรมชาติ  ให้กับลูกหลานนับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ภาวะโลกร้อน (Global  Warming) 
           ภาวะโลกร้อน   เป็นสภาวะที่อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงศตวรรษที่แล้วโดยมีการตระหนักเรื่องนี้เป็นอย่างแท้จริงเมื่อประมาณช่วงค่อนศตวรรษที่  20  เมื่อพบว่าอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโลกนั้นสูงขึ้นในอัตราที่ทวีคูณขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยเป็นจนกระทั่งถึงช่วงเริ่มต้นศตวรรษ  21  อุณหภูมิของโลกก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นอีกการที่อุณหภูมิสูงขึ้นเร็วๆเช่นนี้สันนิษฐานว่าได้ว่าสภาพการณ์ของโลกในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะว่าจะยิ่งร้อนขึ้นอีกในอัตราที่เพิ่มขึ้นเรื่อยหากไม่มีใครคิดที่จะลงมือทำอะไรให้เห็นผลสภาพการณ์นี้จึงส่งผลซึ่งเป็นสาเหตุให้ภูมอากาศเปลี่ยนแปลง  ภาวะโลกร้อนอาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝน  ระดับน้ำทะเลและมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทุกอย่างบนโลก
              ภาวะโลกร้อนเกิดจากการที่ปล่อยก๊าซพิษต่างๆ  เช่น  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ก๊าซมีเทน ฯลฯ  จากโรงงาอุตสาหกรรมทั่วโลกทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่โลกได้มากขึ้น  ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าสภาวะเรือนกระจกตัวการสำคัญในการทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกขึ้นไม่ว่าจะเกิดขึ้นโดยระบบอุตสาหกรรม  เกษตรกรรม  หรือกิจกรรมใดๆของมนุษย์กับธรรมชาติก็ตาม  แต่สาเหตุนั้นก็เกิดขึ้นจากสาเหตุดังต่อไปนี้ 
1.       จากการเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล( Fossil  Feuel ) หรือพลังงานที่ได้จากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ในรูปแบบของถ่านหินและน้ำมันปิโตเลียม  เช่น  ในกิจการโรงงานต่างๆหรือจากการใช้ยวดยานพาหนะต่างๆที่ต้องใช้เชื้อเพลิงเป็นตัวขับดันให้เครื่องจักรทำงานการเผาผลาญพลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิลเหล่านี้นี้จะส่งผลทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในปริมาณที่มากที่สุด
2.       จากการทำกสิกรรม  เกษตรกรรมต่างๆและการทำนาข้าวของมนุษย์กิจกรรมปกติของมนุษย์เพื่อการดำรงชีวิตให้อยู่รอดนั้นเช่นนี้ก็อาจจะก่อให้เกิดมลภาวะต่ออากาศ และเพิ่มปริมาณให้กับก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเป็นปริมาณที่มากอย่างคาดไม่ถึงเช่นกัน  การเผานาข้าวในการพลิกผืนดินเพื่อการปลูกข้าวแต่ละรอบฤดูการเพาะปลูก  หรือการเพาะปลูกพืชไร่ตามแต่ละฤดูการของมนุษย์  อีกทั้งระบบอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตผลทางการเกษตรต่างๆก็ยังสามารถทำให้เกิดเป็นก๊าซเรือนกระจกในอัตราที่สูงได้เช่นกัน  กลุ่มก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญซึ่งเกิดจากจากกระบวนการต่างๆที่นำมากล่าวถึงในที่นี้มี เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ก๊าซมีเทน  และไนตรัสออกไซด์
3.       จากอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์  เช่นเครื่องปรับอากาศ  ตู้เย็น  หรือวัสดุหีบห่อในประเภทโฟม  และจากน้ำยาในอุปกรณ์ดับเพลิง  เป็นต้น  อุปกรณ์เหล่านี้ได้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดก๊าซคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน  หรือมักที่รู้จักกันในชื่อสาร  CFC  นอจากจะเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจก  ยังเป้นตัวการในการทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศที่คอยปกป้องโลกจากรังสีอุตราไวโอเล็ตให้หมดไปอีกด้วย
ตัวการที่สำคัญที่กล่าวมาที่เป็นสาเหตุทำให้โลกร้อนอีกอย่างอาจเป็น มนุษย์  ที่เป็นผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้  แต่ในขณะเดียวกันนั้น  การตัดไม้ทำลายป่าเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์  การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย  การไม่รักษาสิ่งแวดล้อมทำให้กระบวนการในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิภาพ  สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดผลกระทบที่ตามมาอย่างมหาศาลทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาวะโลกร้อนก็เช่น  น้ำแข็งที่ขั้วโลกเริ่มละลายส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งทำให้เกิดปัญหา  เช่น  น้ำท่วมอย่างรุนแรง  น้ำเค็มทะลักเข้าสู่แหล่งน้ำจืด  พื้นที่บริเวณ  ชายฝั่งถูกกัดเซาะ  เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศชายฝั่ง( ป่าชายเลน )
เกิดการเปลี่ยนแปลงทิศทางของกระแสลมและกระแสน้ำเป็นต้น
สภาวะอากาศเกิดการแปรปรวน  เกิดพายุหมุนบ่อยครั้ง  ฝนตกหนัก  น้ำท่วมในหลายพื้นที่  เกิดไฟไหม้ป่า  ทำให้หลายพื้นที่เกิดภาวะแห้งแล้งเพราะต้นไม้ในป่าถูกเผาทำลาย  ก่อให้เกิดโรคระบาดเพราะระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป  เชื้อโรคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  เนื่องจากสภาพแวดล้อมเหมาะแก่การฟักตัว  และโรคระบาดที่เคยหายไปจะกลับมาแพร่เชื้ออีกครั้ง  เช่น  มาลาเรีย  อหิวาตกโรค  เป็นต้น
การดำเนินชีวิตเมื่ออยู่ในสภาวะโลกร้อน
1.       ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เช่น  การตัดไม้ทำลายป่า  การเผาป่า  เป็นต้น
2.       รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่าและใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.       เปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทน  เช่น  ไบโอดีเซล
4.       ลดการใช้พลังงานในบ้าน  เช่น  โทรทัศน์  เครื่องปรับอากาศ  คอมพิวเตอร์  เป็นต้น
5.       ขับรถให้น้อยลงเพื่อความประหยัดน้ำมัน  และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย
6.       เลือกใช้กระดาษรีไซเคิล
7.       ปลูกต้นไม้อย่างน้อยคนละ 1  ต้น
8.       เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม  เช่น  ฉลากประหยัดไฟเบอร์  5 
9.       ใช้ถุงผ้าแทนการถุงพลาสติก
10.    ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี  ควรใช้ปุ๋ยหมักจากพืชสัตว์
11.    ควรใช้ชีวิตอย่างพอเพียงด้วยการตระหนักถึงการใช้ชีวิตอย่างมีสติ
12.    ปลูกฝังให้คนในครอบครัวรักโลกและสิ่งแวดล้อม  ฯลฯ


ข้อดี  สำหรับข้อดีของหนังสือภัยภิบัติ รู้จริง รู้รอบ ปลอดภัย หลังจากที่ได้อ่านทำให้ได้รู้ว่าเพราะตัวของมนุษย์เองนั้นทำให้โลกเรานั้นร้อนขึ้นเพราะการใช้ทรัพยากรที่ฟุ่มเฟือยไม่รู้จักประหยัดเเละไม่รู้จักทดธรรมชาติหลังจากที่นำทรัพยากรเหล่านั้นมาใช้เเล้วเเละยังทำให้รู้ว่าหากเราร่วมกันปลูกต้นไม้เพื่อทดแทนธรรมชาติเเล้วจะธรรมให้โลกของเรานั้นเย็นขึ้นกว่าเดิมเเละยังช่วยลดก๊าซที่ส่งผลเสียต่อโลกของเราอีกด้วยดังนั้นเพื่อความสดใสเเละความน่าอยู่ของโลกใบนี้เล้วเราจึงต้องช่วยกันลดโลกร้อนนะครับ

ข้อเสีย   สำหรับข้อเสียของหนังสือเล่มนี้คือยังมีเนื้อหาความเป็นปัจจุบันไม่เพียงพอ
  
ข้อเสนอแนะ  น่าจะปรับเพิ่มให้หนังสือมีความเป็นปัจจุบันมากขึ้นเเละเพิ่มความน่าสนใจให้กับหนังสือให้มากกว่านี้ด้วยทั้งในเรื่องของสีสันของหนังสือเเละความน่าสนใจของเนื้อหาด้วยเพื่อที่จะให้คนที่อ่านไม่เบื่อง่าย








บทความโดย  นายมนูญ เเสวงวงค์ 5223411462
             อ้างอิงจากหนังสือเรื่อง ภัยพิบัติ รู้จริง รู้รอบ  ปลอดภัย

Book Review : รู้ทันภัยพิบัติ

ภัยธรรมชาติ
     ภัยธรรมชาติ แยกออกได้เป็น 2 คำ คือภัย กับ ธรรมชาติ เสียก่อน ด้วยเหตุผลในแง่ความสะดวกเพื่อหาความหมายของคำภาษาอังกฤษจากคำว่า natural disaster โดยหนังสืออย่างน้อยสองเล่มใช้คำว่า ภัย แทนคำภาษาอังกฤษ disaster ส่วน ธรรมชาติ ก็ตรงกับคำว่า natural
Disaster เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความสูญเสียและการทำลายอย่างใหญ่หลวง เช่น อุบัติเหตุน้ำท่วม หรือ พายุ
Natural เป็น ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนโลก ซึ่งมิใช่ถูกสร้างหรือควบคุมโดยมนุษย์ เช่น สัตว์ พืช ภูมิอากาศ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกัน จะหมายถึง เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความสูญเสียและการทำลายล้างอย่างกว้างใหญ่หลวงโดยมิใช่เหตุการณ์ที่เกิดจากการสร้างหรือควบคุมโดยมนุษย์
อาจสรุปได้ว่า
-ประการแรก ภัยธรรมชาติต้องกระทบหรือเป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงรูปแบบหรือวิถีการดำรงชีวิต โดยภัยนั้นอาจมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันมาก เช่น ทำให้หลังคาบ้านเสียหายไปจนถึงระดับคนตายเป็นแสน
-ประการที่สอง ภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ยังคงเกิดอยู่ และมีแนวโน้มว่า จะเกิดขึ้นอีก ในอนาคต
-ประการที่สาม ภัยธรรมชาติที่รู้และเข้าใจโดยทั่วไปมักเกี่ยวข้องและ หรือ พาดพิงกับบางวิชา เช่น ภูมิศาสตร์กายภาพ อุตุนิยมวิทยาและธรณีวิทยา ด้วยเหตุนี้ เมื่อแบ่งภัยธรรมชาติออกเป็นประเภท จะสังเกตเห็นชัดเจนว่า ภัยธรรมชาติเกี่ยวข้องกับพื้นดิน น้ำ ลม ฟ้า และอากาศ
   
     ภัยธรรมชาติ คือเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความสูญหาย เสียหายหรืออันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนจำนวนมาก โดยเหตุการณ์นั้นจะเกิดจากธรรมชาติ อาจแยกเป็นภัยธรรมชาติทางด้านพื้นดิน ลม ฟ้า อากาศ ธรรมชาติดังกล่าวนั้นอาจเป็นผลสืบเนื่องจากการกระทำของมนุษย์หรือไม่ใช่ก็ได้
เช่น 


      อุทกภัย หรือเรียกง่ายๆ ว่าน้ำท่วม(Flood) หมายถึง การที่มีน้ำปริมารมากเกินกว่าพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งจะสามารถรองรับได้ สาเหตุย่อมมาจากปริมาณน้ำที่มีมากจนกระทั่งเอ่อท่วมล้นขึ้นมา ดังนั้นน้ำท่วมจึงเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แล้วผ่านพ้นไปเมื่อน้ำลดลงสู่สภาวะปกติแต่จะสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ริมน้ำหรือขวางกั้นเส้นทางไหลของกระแสน้ำ


      ดินถล่ม แม้จะเกิดขึ้นหลังจากฝนตกหนัก แต่ต้นตอของดินถล่มสะสมมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งยังส่งผลต่อเนื่องถึงความรุนแรงในแต่ละพื้นที่ด้วย
- สาเหตุจากธรรมชาติเป็นปฐมบทต้นตอให้เกิดภัยจากดินถล่ม ทั้งปัจจัยสำคัญสำคัญจากฝนตกหนัก ลักษณะของดินที่มีการยึดตัวต่างกัน และชั้นดินที่หนา 1-2 เมตร มีโอกาสเกิดดินถล่มมากกว่าบริเวณที่มีชั้นดินบางหรือหนากว่านี้ สุดท้ายพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 30% ย่อมเสี่ยงต่อดินถล่มสูงขึ้นไปตามลำดับ
-สาเหตุจากมนุษย์เป็นตัวเสริมซ้ำเติมให้เกิดดินถล่มง่ายและรุนแรงยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า ทำการเกษตรในบริเวณที่ลาดชัน สร้างบ้านเรือนอยู่ตามเชิงเขา หรือแม้กระทั่งก่อสร้างถนนตามไหล่เขา โดยไม่ป้องกันดินถล่มให้ดีพอ

      แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติที่ไม่ต้องขึ้นอยู่กับฤดูกาล ไม่มีฤดู แผ่นดินไหวให้เฝ้ารอ แผ่นดินไหวอาจเกิดวันเวลาใดก็ได้ ตามสาเหตุที่แยกออกเป็น 2 ลักษณะ
 -สาเหตุตามธรรมชาติ แยกออกเป็น การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก แผ่นดินถล่ม อุกกาบาตตกกระทบพื้นโลก ภูเขาไฟระเบิด
-สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ แยกออกเป็น การทำเมือง ฉีดน้ำลงใต้ดิน การเก็บกักน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่ น้ำหนักของน้ำอาจกดให้ดินยุบตัว ทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน

ข้อดี
          รู้จักวิธีการรับมือกับภัยธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ โดยบอกให้ทราบและเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดภัยธรรมชาติแต่ละประเภท ตลอดจนขีดขั้นระดับความรุนเเรงที่ต่างกัน เพื่อให้ผู้อ่านตื่นตัว เตรียมพร้อมรับมือ และหาหนทางแก้ไขวิกฤตให้หนักเป็นเบา

ข้อเสีย
           บางครั้งก็ไม่อาจสามารถรับมือกับภัยธรรมชาติได้ เพราะหนังสือเขียนรายละเอียดไม่ค่อยชัดเจน และวิธีการบ้างวิธีอาจยากที่จะอ่านเเละทำความเข้าใจ  เมื่อทราบข้อมูลก็ยังหลีกเลี่ยงไม่ทันการณ์

ข้อเสนอแนะ

           หนทางที่ดีที่สุดในการเผชิญภัยธรรมชาติคือ ต้องเตรียมรับมือให้พร้อม ถึงจะเป็นภัยธรรมชาติที่ป้องกันไม่ได้ อย่างน้อยก็ต้องพยายามหาหนทางบรรเทาความเสียหายให้น้อยที่สุด รู้จักวิธีรับมือกับภัยธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ โดยบอกให้ทราบและเข้าใจถึงเหตุที่ทำให้เกิดภัยธรรมชาติตลอดจนระดับความรุนแรงที่แตกต่าง เพื่อให้ผู้อ่านตระหนักหาหนทางแก้ไขวิกฤตให้หนักเป็นเบา แม้ภัยธรรมชาติจะเป็นเรื่องที่น่ากลัว แต่ก็มิควรตระหนกจนขาดสติ ทุกอย่างมีหนทางป้องกันความสูญเสียได้ไม่มากก็น้อย หรือกระทั่งไม่สามารถหยุดยั้งได้ แต่เมื่อทราบข้อมูลล่วงหน้าก็ยังหลีกหนีได้ทันการณ์ ทั้งนี้ด้วยเงื่อนไขสำคัญ ต้องการรู้เท่าภัยธรรมชาติเสียก่อน                                     
 
         Book Riview : โดยนายปณัฐกรณ์  บุตรงาม  
             อ้างอิง : กฤษดา  เกิดดี. รู้ทันภัยพิภัยพิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์วงกลม, 2553
                             


Book Review : ปรากฏการณ์เอลนิโญ




ปรากฏการณ์เอลนิโญ เกิดขึ้นได้อย่างไร
          พื้นโลกรับความร้อนจากดวงอาทิตย์ได้ไม่เท่ากัน บริเวณเส้นศูนย์สูตรจะรับความร้อนมากกว่าขั้วโลกเหนือและใต้มากมาย น้ำทะเลและอากาศจะเป็นตัวพาความร้อนออกจากเส้นศูนย์สูตรไปยังขั้วโลกทั้งสอง น้ำทะเลที่ผิวมหาสมุทรจะร้อนขึ้นจนระเหยกลายเป็นไอขึ้นไป น้ำอุ่นข้างล่างผิวน้ำและใกล้เคียงจะเข้ามาและกลายเป็นไออีก เป็นเหตุให้มีการไหลทดแทนของน้ำและอากาศจากที่เย็นกว่าไปสู่ที่อุ่นกว่า เกิดเป็นวงจรระบายความร้อนและความชื้นออกไปจากโซนร้อนอย่างต่อเนื่อง ในภาวะปกติ โซนร้อนที่กล่าวถึงนี้คือบริเวณแนวเส้นศูนย์สูตรทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ได้แก่บริเวณหมู่เกาะอินโดนีเซียและออสเตรเลีย ลักษณะนี้ทำให้มีลมพัดจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิกมาหาแนวเส้นศูนย์สูตรทางแปซิฟิกตะวันตก คนเดินเรือใบในอดีตรู้จักลมนี้ดี โดยเฉพาะชาวจีน เพราะได้อาศัยลมนี้ในการเดินทางมาค้าขายหรือหอบเสื่อผืนหมอนใบมายังเอเชียใต้ ลมนี้คือ ลมสินค้า นั่นเอง ลมสินค้าได้พัดน้ำให้ไหลตามมาด้วย
            จากการสำรวจทางดาวเทียมพบว่า น้ำทะเลแถวอินโดนีเซียมีระดับสูงกว่าทางฝั่งเปรูประมาณครึ่งเมตร ซึ่งทางฝั่งเปรูนั้น เมื่อน้ำทะเลชั้นบนที่ร้อนได้ไหลมาทางตะวันตกตามแรงลมแล้ว น้ำทะเลด้านล่างซึ่งเย็นกว่าก็จะลอยขึ้นมาแทนที่ หอบเอาแพลงตอนซึ่งเป็นอาหารปลาลอยขึ้นมาด้วย ทำให้ท้องทะเลย่านนี้มีปลาเล็กปลาใหญ่ชุกชุม (นักดำน้ำส่วนมากรู้จักปรากฏการณ์น้ำเย็นที่อยู่ในที่ลึกๆ แล้วไหลมาแทนน้ำอุ่นๆที่อยู่ที่ผิวน้ำได้ดี ซึ่งเราเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า Upwelling ซึ่งถ้ามีปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อใดในระหว่างดำน้ำ เราจะเจอน้ำเย็นเฉียบ...ตะกอนลอยฟุ้งไปทั่ว...กระแสน้ำที่ผิวน้ำจะแรงมาก เมฆมากฝนตกชุก อากาศบริเวณนี้จึงร้อนชื้น ที่บอกว่าน้ำทะเลร้อนและเย็นนั้น 
            ตามปรกติก็จะร้อนและเย็นประมาณ 30  22 องศาเซลเซียส ตามลำดับ เมื่อเกิดเอลนิโน ลมจะมีกำลังอ่อนลงทำให้ไม่สามารถพยุงน้ำทะเลทางแปซิฟิกตะวันตกให้อยู่ในระดับสูงอย่างเดิมได้ น้ำอุ่นจึงไหลย้อนมาทางตะวันออก แอ่งน้ำอุ่นซึ่งเปรียบได้กับน้ำร้อนในกระทะใบใหญ่ซึ่งเคยอยู่ชิดขอบตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกจึงเคลื่อนไปทางทิศตะวันออก การลอยตัวของน้ำเย็นจากก้นทะเลจึงมีน้อย มีผลทำให้น้ำด้านแปซิฟิกตะวันออกอุ่นขึ้น


ทีนี้ก็เกิดวงจรแบบงูกินหางขึ้น คือ น้ำทะเลยิ่งร้อน ลมสินค้าก็ยิ่งอ่อนลมสินค้ายิ่งอ่อนน้ำทะเลก็ยิ่งร้อนนี่เป็นปัจจัยให้แต่ละครั้งที่เกิดเอลนิโญ แอ่งนำอุ่นจะขยายใหญ่ขึ้นและใหญ่ขึ้นทุกครั้งไป
         
  
ผลของปรากฏการณ์เอลนิโญ
         ความจริงเอลนิโญไม่ได้ทำให้อากาศร้อนอย่างเดียว ยังทำให้บางพื้นที่ในประเทศทางซีกโลกเหนือมีความหนาวเย็นและมีหิมะตกหนักกว่าปรกติด้วย เช่นที่ประเทศเกาหลีเหนือนอกจากภัยที่กล่าวมาแล้วยังมีภัยทางอ้อมต่าง ๆ อีก ซึ่งเป็นผลมาจากน้ำและอากาศมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น หรือไม่ก็เพราะแล้งไปหรือชื้นไป พอจะรวบรวมได้ดังนี้

1. สัตว์ทะเลมีโอกาสสูญพันธุ์สูงมาก เมื่อเกิดภาวะเอลนิโญการไหลของกระแสน้ำอุ่นผิดทิศทางไป ซึ่งกระทบกระเทือนต่อการ ขยายพันธุ์ของปลาและแหล่งอาหารมาก เราคงได้ยินข่าวฝูงปลาวาฬว่ายไปเกยตื้นบ่อยๆ เพราะหลงทิศทางน้ำ


2. ปะการังและสัตว์ทะเลที่มีสาหร่ายเซลเดียว (Zooxanthellae) อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อ และมีส่วนอย่างสำคัญทำให้เหล่านี้มีสีสันที่สวยงาม  ต่างพากันเกิดอาการฟอกขาว เพราะตัวสาหร่ายทนความร้อนไม่ได้ต้องตายหรือหนีหายไป



3. นกต่าง ๆ ที่อาศัยปลาเป็นอาหารก็กำลังมีจำนวนน้อยลง เช่น    นกเพนกวิน

4. สัตว์ป่าต้องพบกับภาวะแห้งแล้งเช่นกัน หาอาหารได้ยากขึ้น และล้มตายมากมายด้วยไฟป่า









ข้อดี
หนังสือเรื่องปรากฏการณ์เอลนิโยนี้เป็นหนังสือที่อ่านแล้วเข้าใจอ่านสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการอ่านหนังสือแบบวิทยาศาสตร์และเนื้อหาในหนังสือเกี่ยวกับปรากฏการณ์เอลนิโญซึ่งเป็นสิ่งที่มันเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันทำให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นและไม่เป็นวิชาการมากจนเกินไปและสามารถอ่านได้ทุกเพศทุกวัย

ข้อเสีย
หนังสือมีเนื้อหาเยอะจนเกินไปทำให้น่าเบื่อและเกิดอาการไม่อยากอ่านต่อและตัวหนังสือค่อนข้างเล็กทำให้ตาลายในขณะที่อ่านและมีรูปร่างหนังสือไม่ค่อยสวยไม่น่าสนใจไม่ดึงดูดผู้อ่านเท่าไรหนัก

ข้อเสนอแนะ

ควรจัดทำหนังสือที่มีเนื้อหาไม่เยอะมากสลับกับรูปภาพพอทำอธิบายให้เด็กเข้าใจได้ง่ายสนใจอ่านมากกว่านี้






บทความโดย  นางสาวจิรภาภรณ์ มังสุไร 5223450049
อ้างอิง//: จากหนังสือ ชุดสิ่งแวดล้อมของ unep / gems
เล่มที่ 8 ปรากฏกราณ์เอลนิโญ
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ไนโรบี และ แหล่งที่มา

Book Review : เอาตัวรอดอย่างไร ? เมื่อมีภัยพิบัติ

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554


เอาตัวรอดอย่างไร ? เมื่อมีภัยพิบัติ
โดย นายรอบคอบ/รวบรวม
โลกกำลังเกิดอะไรขึ้น ภัยพิบัติอะไรจะถาโถม หรือโลกเรากำลังจะแตกแล้วจริงๆ !!!
 
1.       ภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติหรือพายุ คือ ภัยธรรมชาติเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติหรือมนุษย์ได้ทำให้เกิดขึ้นมา ซึ่งภัยธรรมชาติจะรวมถึงการเกิดอุทกภัย การเกิดพายุ การเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติต่างๆ ไม่ว่าจะร้ายแรงหรือน้อยก็เกิดขึ้นได้ทุกเวลาโดยที่มนุษย์ไม่ได้ตั้งตัว

วิธีป้องกันภัยจากพายุ / ข้อควรจำเมื่อเกิดพายุ
-          ถ้ามีการแจ้งเฝ้าระวังเกี่ยวกับพายุก็มีการเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าเผื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน
-          เมื่อมีการแจ้งเตือนอีกไม่เกิน 24 ชั่วโมงจะมีพายุเข้า ดังนั้นเตรียมรับมือไว้ให้พร้อม
-          เมื่อมีพายุ ฝนตกหนักอาจเกิดน้ำท่วมได้ ดั้งนั้นควรย้ายไปอยู่ที่สูงๆ

ข้อควรปฏิบัติ

-          ติดตามข่าวสารวิทยุหรือโทรทัศน์ไว้ตลอด
-          หลบอยู่ในที่กำบังมั่นคงให้อยู่ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง
-          หากใกล้ๆบ้านมีต้นไม้ใหญ่ให้ระมัดระวังว่าอาจจะโค่นถล่มทับบ้านได้ หากเป็นไปได้ควรตัดต้นไม้ทิ้ง
-          เก็บตุนอาหารไว้ให้พร้อม เผื่อต้องอพยพหนี

2.       สึนามิคลื่นยักษ์แห่งท้องทะเล คือ คลื่นหรือกลุ่มคลื่นที่มีจุดกำเนิดอยู่ในเขตทะเลลึก ซึ่งมักปรากฏหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แผ่นดินไหวใต้ทะเล ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม คลื่นยักษ์สึนามิสามารถเข้าทำลายพื้นที่ชายฝั่ง ทำให้เกิดการสูญเสียทังชีวิตและทรัพย์สินอย่างที่ประเทศไทยเคยผจญกับคลื่นยักษ์ชนิดนี้มาแล้ว
ข้อควรปฏิบัติ
10 ข้อปลอดภัยท่องให้ขึ้นใจเกี่ยวกับสึนามิ
1.       ติดตามข่าวสาร ถ้ามีประกาศว่ากำลังจะเกิดสึนามิให้รีบอพยพทันที่
2.       ห้ามลงทะเล ห้ามลงไปอยู่บริเวณชายหาดเมื่อมีประกาศเตือนภัย
3.       สึนามิประกอบด้วยคลื่นน้ำเป็นระลอก เข้าชายฝั่งความเร็วสูง
4.       สึนามิเกิดได้ตลอดไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน
5.       อย่าลืมว่าคลื่นยักษ์สามารถพัดลุกเข้าไปในม่น้ำลำคลองนับเป็นกิโลเมตรได้
6.       สึนามิเคลื่อนที่เร็วกว่าคนวิ่ง ฉะนั้นอย่าคิดวิ่งแข่งกับสึนามิเด็ดขาด
7.       หากเป็นไปได้ไม่ควรก่อสร้างบ้านใกล้ชายฝั่ง
8.       อย่าลืมที่จะช่วยเหลือเด็ก คนชรา คนพิการ ผู้ที่อ่อนแอกว่าพาพวกเขาหนีภัยด้วย
9.       ควรหนีภัยด้วยการเดินเท้า
10.   รอฟังประกาศจากทางการว่าปลอดภัยแล้ว ถึงจะเดินทางกลับสู่ที่พัก


3.       แผ่นดินไหว คือ แผ่นดินไหวที่เกิดจากธรรมชาติเป็นธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่ง ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจาการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียดที่สะสมไว้ในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่

ข้อควรปฏิบัติในการป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหว
ก่อนเกิดแผ่นดินไหว

-          ตรวจสอบว่าที่พักที่อาศัยอยู่นั่นตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวหรือไม่ ควรเสริมหรืออาคารให้มั่นคงแข็งแรงมากขึ้นเพื่อต้านแผ่นดินไหว ทำที่ยึดตู้ และเฟอร์นิเจอร์ไม่ให้ล้ม
-          หลีกเหลี่ยงการอยู่ใกล้หน้าต่าง หรือผนังห้อง เตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคให้พร้อมเพื่อเอาไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน
-          จัดหาเครื่องรับวิทยุสำหรับเปิดฟังข่าวสารคำเตือน เตรียมอุปกรณ์นิรภัยสำหรับช่วยชีวิต
-          เตรียมยารักษาโรคและเวชภัณฑ์ให้พร้อมในการใช้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น จัดให้มีการศึกษาถึงการปฐมพยาบาล
-          ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากๆ ไว้ในที่สูงเพราะอาจล่วงหล่นลงมาทำความเสียหายได้

ขณะเกิดแผ่นดินไหวควรทำตัวอย่างไร

-          ตั้งสติ อยู่ในที่ที่แข็งแรงปลอดภัยห่างจากประตู หน้าต่างและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ไม่ตื่นตระหนกมากเกินไป เปิดวิทยุรับฟังสถานการณ์คำแนะนำคำเตือนต่างๆจากทางราชการ
-          ไม่ควรใช้ลิฟต์ เพราะหากไฟดับอาจจะติดอยู่ภายในลิฟต์  หรือหากออกจากอาคารไม่ได้ให้หมอบอบู่ใต้โต๊ะ หรือยืนชิดติดกับเสาที่แข็งแรง
-          มุดเข้าไปนอนใต้เตียงอย่าอยู่ใต้คานหรือที่ที่มีน้ำหนักมาก อยู่ใต่โต๊ะที่แข็งแรงเพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งที่จากหล่นทับ
-          หากอยู่ในรถให้รีบจอดในที่โล่งแจ้ง ห้ามหยุดใต้สะพานหรือใต้สายไฟฟ้าแรงสูงละให้อยู่ภายในรถจนกว่าแผ่นดินจะไหวหรือสั่นสะเทือน

 
4.       เตรียมรับมืออย่างไร เมื่ออุทกภัยมาเยือน

            วิธีรับมือก่อนเกิดอุทกภัย

-          เชื่อฟังคำเตือนของหน่วยงานราชการอย่างเคร่งครัด
-          ทำคันดินหรือกำแพงกั้นน้ำโดนรอบ และเตรียมกระสอบใส่ทรายเพื่อเสริมคันดินที่กั้นน้ำให้สูงขึ้น
-          หากคุณพักอยู่ในบริเวณที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วมให้ย้ายไปอยู่ในที่สูง อาคารที่มั่นคง ให้พ้นจากระดับน้ำที่เคยท่วมมาก่อน
-          ตระเตรียมอาหารกระป๋อง หรืออาหารสำรองไว้ หรือแม้แต่น้ำดื่มที่ปิดฝาภาชนะแน่น สิ่งที่ห้ามลืมก็คือ ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย รวมไปถึงเทียนไขเพื่อไว้ใช้ในยามไฟดับ

วิธีรับมือขณะเกิดอุทกภัย

-          ควรตั้งสติให้มั่นคง  ให้หลบภัยอยู่ในอาคารที่แข็งแรงและอยู่ในบริเวณที่สูงห่างจากระดับน้ำ
-          ให้รีบตัดสะพานไฟ และปิดแก๊สหุงต้มให้เรียบร้อย
-          ไม่ควรเล่นน้ำในขณะที่น้ำท่วม ในขณะเดียวกันจงทำให้ร่างกายอบอุ่นตลอดเวลา
-          ระวังอันตรายจากสัตว์มีพิษชนิดต่างๆ
-          ติดตามเหตุการณ์ที่ดำเนินไปอย่างใกล้ชิด เช่น สังเกตลมฟ้าอากาศ

วิธีรับมือหลังเกิดอุทกภัย
-          หลังจากน้ำท่วมผ่ายพ้นไป การบูรณะซ่อมแซมสิ่งต่างๆก็ต้องเริ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มจากการเก็บกวาดปรักหักพัง นอกจากนี้ต้องรีบทำความสะอาดซ่อมแซมบ้านเรือน ข้าวของเครื่องใช้ ถนน และสิ่งแวดล้อมต่างๆให้กลับคืนสู่สภาพปกติ
-          โรคระบาดมักจะตามมาเสมอ สิ่งสำคัญคือ เราจะต้องดูแลรักษาสุขภาพโดยการดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่ปรุงสุก และอย่าลืมตรวจสุขภาพว่าได้ติดโรคระบาดระหว่างน้ำท่วมหรือเปล่า

ข้อดี

          หนังสือเอาตัวรอดอย่างไร? เมื่อมีภัยพิบัติ เนื่องจากในปัจจุบันโลกของเรากำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดภัยพิบัติอะไรต่างๆถาโถมเข้ามา หรืออาจจะเกิดว่าโลกของเรากำลังจะแตกแล้วจริงๆ ฉะนั้นหนังสือเล่มนี้จึงช่วยหัยเราได้รู้ที่มาที่ไปของภัยพิบัติต่างๆและยังสามารถรู้วิธีการเอาตัวรอดเมื่อเกิดภัยพิบัติ  ถ้าอยู่ในภาวะคับขันเราควรทำอะไรได้………และต้องเตรียมพร้อมรับมืออย่างไรซึ้งในหนังสือเล่มนี้จะมีเนื้อหาฉบับย่อและความรู้เบื้องต้นให้เราปฏิบัติและเป็นหนังสือที่เราสามารถพกพาได้สะดวกเมื่อภัยกะทัดรัดและยังมีภาษาที่เข้าใจง่ายอีกด้วย

ข้อเสีย

          เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือการเอาตัวรอดเมื่อภัยพิบัติมาเยือนและรูปเล่มหนังสือภายนอกเหมือนไม่ได้ใช้ภาษาวิชาการซึ่งออกแนวเหมือนหนังสือสำหรับเด็กจึงทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้และมองข้ามเนื้อหาในเล่มและสำหรับบุคคลที่อ่านหนังสือเล่มนี้จะพบว่าหนังสือออกไปในแนวหนังสือวิชาการมากกว่าจึงทำให้เราไม่ค่อยเข้าใจและไม่ค่อยสนใจที่จะอ่านต่อจนจบทำให้เกิดอาการเบื่อได้ในบางครั้ง

ข้อเสนอแนะ


          เนื้อหาในเล่มควรใช้ภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่ควรใช้ภาษาที่เป็นวิชาการมากจนเกินไป ในขณะเดียวกันหนังสือเล่มนี้ควรบอกวิธีปฏิบัติที่เป็นเบื้องต้นและใช้ภาษาประกอบการเขียน เพื่อให้เกิดความสนใจแก่ผู้อ่านให้อ่านต่อจนจบเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านมากขึ้น

 






บทความโดยนางสาวสุพัตรา รินทระ  5223400213
อ้างอิงหนังสือเอาตัวรอดอย่างไร ? เมื่อมีภัยพิบัติ