กลับไปหน้าหลัก

Book Review : โลกถล่ม

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554


โลกถล่ม
ทวีปเคลื่อนที่และแนวแผ่นดินไหว
           เรื่องทวีปเคลื่อนที่และแนวแผ่นดินไหว เป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆสำหรับสำนึกของมนุษย์เราแต่ส่วนผลกระทบอย่างสำคัญต่อสภาพผิวโลก ต่อสภาพภูมิศาสตร์บ้านเรา และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่เกินกว่ามนุษย์จะทำได้ ที่สำคัญคือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยังไม่ยุติและกำลังเกิดขึ้นอยู่ด้วยสิ่งที่มนุษย์พยายามทำ คือเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งในอดีตและปัจจุบันและก็มีแนวโน้มต่อไปในอนาคตของการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมตั้งรับสภาพการเปลี่ยนแปลงในอนาคตและพยายามนำการเปลี่ยนแปลงนั้นมาเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติมากที่สุด
       ในขณะเดียวกันผู้เสนอทฤษฎีความคิดเรื่องนี้อย่างจริงจังคนแรกเป็นนักธรณีวิทยาชาวเยอรมัน ชื่อ อัลเฟรด เวเจเนอร์ ซึ่งเขาเรียกทฤษฎีของเขาว่า ทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีป ตามทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปเวเจเนอร์ ผิวโลกส่วนที่เป็นมหาสมุทรแอนแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งส่วนที่เป็นพื้นน้ำอยู่ระหว่างทวีปต่างๆ ที่เคยเชื่อมต่อกันอยู่แต่ส่วนที่เป็นมหาสมุทรหรือแหล่งน้ำที่เกิดจากการเดินทางออกจากกันของทวีปต่างๆ
         เวเจเนอร์ยังเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมอีกว่า เนื่องจากโลกของเราหมุนรอบตัวเองโดยมีแรงหมุนทะลุผ่านขั้วโลกเหนือ-ใต้ ดังนั้น การหมุนของโลกจึงทำให้เกิดแรง ซึ่งผลักให้ทวีปต่างๆ มีสภาพเหมือนกับเรือยักษ์ ท้องเรือว่างอยู่กับชั้นหินแล้วท้องเรือค่อยๆ ขยับเคลื่อนที่ค่อยเดินทางอย่างช้าๆไหลไปบนชั้นหินรองรับนั้นเอง
จากการเคลื่อนที่ของทวีป นักวิทยาศาสตร์ แผ่นดินไหวเป็นผลจาการเคลื่อนที่ของแผ่นดินใหญ่รองรับทวีปนั่นเอง บริเวณที่จะเกิดแผ่นดินไหวบ่อยๆ คือตามแนวขอบนอกของแผ่นดินที่แยกออกจากกัน ในสภาพปัจจุบันแถบที่เกิดแผ่นดินไหวบ่อยที่สุดของโลกมีอยู่ 2 แถบ คือแถบรอบแปซิฟิก และแถบอัลไพด์
สำหรับประเทศไทยเราโชคดีที่ไม่อยู่ในแถบเกิดแผ่นดินไหว จึงไม่มีแผ่นดินไหวถึงขั้นรุนแรง แต่ก็มีสิทธิ์ได้ รู้สึกแผ่นดินไหวเช่นกัน เพราะประเทศไทยก็มิได้อยู่ห่างไกลจากแหล่งแผ่นดินไหว คือประเทศมาเลเชียและจีน อย่างไรก็ตามแนวแผ่นดินไหวไม่มีหดน้อยหรือหายไป มีแต่จะเพิ่มแนวแผ่นดินไหวมากขึ้น เพราะรอยแยกใต้ดินของแนวแผ่นดินไหวมีแต่จะขยายรอยแยกมากขึ้น ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่นักธรณีวิทยาไทยจะต้องติดตามสภาพความเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกอย่างใกล้ชิดมากขึ้นต่อๆไป
ดาวเคราะห์แม่กับลูก
จากการศึกษาสภาพความเป็นมาของภัยธรรมชาติในอดีต และการค้นหาสาเหตุที่มาของภัยธรรมชาติที่แสดงออกมาเป็นอารมณ์โกรธของดาวเคราะห์แม่ ก็สรุปสาเหตุของภัยธรรมชาติได้เป็นสองสาเหตุใหญ่ๆ
<!--[if !supportLists]-->1.)   <!--[endif]-->เป็นสาเหตุจากความเป็นตัวตนของดาวเคราะห์แม่เอง ที่มีความเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น ภัยธรรมชาติ ประเภทแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ภัยน้ำท่วม ความแห้งแล้งตามเฉพาะพื้นที่ และฤดูกาล
<!--[if !supportLists]-->2.)   <!--[endif]--> เป็นสาเหตุที่เกิดจากการกระทำของบรรดามนุษย์ลูกๆ ของดาวเคราะห์แม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาเหตุที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ที่เรียกกันเป็น “Global Warming” หรือ การร้อนขึ้นของดาวเคราะห์โลกตัวอย่างเช่น ภัยธรรมชาติประเภทพายุ คลื่นยักษ์ น้ำท่วม ความแห้งแล้ง ที่เกิดขึ้นรุนแรงกว่าปกติบ่อยขึ้น และเกิดผิดที่ผิดตำแหน่ง
เรื่อง “Global Warming” หรือ การร้อนขึ้นของดาวเคราะห์โลก มิได้หมายถึง การร้อนขึ้นของดาวเคราะห์โลก หากแต่เป็นการร้อนขึ้นของบรรยากาศโลก จาก “Greenhouse Effect” หรือ ปรากฏการณ์เรือนกระจกนั่นเอง


ข้อดี
หนังสือโลกถล่ม ทำให้เรารู้ว่า ทำไมแผ่นดินไหว ภัยธรรมชาติ จึงคืบคลานเข้าใกล้ตัวคุณมากขึ้นเรื่อยๆ และหนังสือเล่มนี้ยังช่วยเปิดเผยเรื่องราวความจริง สำหรับภัยที่กำลังคุกคามทุกสิ่งที่มีชีวิตบนโลก และภัยที่ใกล้ตัวที่คุณกำลังต้องเผชิญหน้า ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะช่วยเปิดทัศนคติของผู้อ่านให้ได้ความรู้และเข้าใจในเรื่องราวต่างๆทั้งในอดีตและปัจจุบันและต่อไปในอนาคต ที่คุณไม่อาจคาดถึง สำหรับเรื่องจริงของภัยร้ายแรงที่เป็นภัยจากธรรมชาติและที่เป็นภัยจากฝีมือมนุษย์

ข้อเสีย
            หนังสือโลกถล่ม เป็นการรวบรวมเนื้อหาทั้งในอดีตและปัจจุบันไว้ในเวลาเดียวกัน ทำให้เนื้อหาบางส่วนซับซ้อน เกิดหารสับสนและเข้าใจยากสำหรับผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ และอีกทั้งเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ก็ยังมีลักษณะไกลตัว ทำให้ไม่มีความน่าสนใจในการอ่านและเนื้อหาก็ไม่เชื่อมโยงกันไม่สามรถรู้ถึงที่มาที่ไปได้

ข้อเสนอแนะ
          ควรปรับเนื้อหาบางส่วนให้เข้าใจง่ายและควรใช้เนื้อหาที่ใกล้ตัวและเหมาะสมกับตัวผู้อ่านควรมีการเชื่อมโยงเนื้อหาในแต่ละส่วนให้เข้ากัน เพื่อการเข้าใจเนื้อหาให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดการสับสนและยังสามรถรู้ถึงที่มาที่ไปของเนื้อหาได้อย่างครบถ้วน







บล็อกโดย นายชีวะ  ไตรภูมิ รหัสนักศึกษา 5223410894
อ้างอิงหนังสือ… “โลกถล่มของ ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกูล

1 ความคิดเห็น:

อิสรภาพแห่งความคิด สิงห์แสด ม.อุบลฯ กล่าวว่า...

โลกถล่ม เราจะไปอยู่ไหนคับ???? คงเป็นคำถามของใครหลายคน เราจะไปไหนละ ภัยพิบัติเกิดขึ้นได้เสมอ จงระวังกายและใจอยู่เสมอ....
คิดดี ทำดี ทุกอย่างก็จะดีเองครับ....