กลับไปหน้าหลัก

Book Review : ไฟป่าคืออะไร?

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

  
  ไฟป่าคืออะไร
ไฟป่า คือ ไฟที่ลุกขึ้นจากสาเหตุใดก็ตาม แล้วลุกลามไปโดยปราศจากการควบคุม ไม่ว่าจะเข้าไปในป่าธรรมชาติหรือป่าสวน

สาเหตุการเกิดไฟป่า

v สาเหตุจากธรรมชาติ
ไฟป่าจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ต้องอาศัยปัจจัย 3 สิ่ง หรือที่เรียกว่า องค์ประกอบของไฟหรือ สามเหลี่ยมไฟ นั่นคือ

 หากขาดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปไฟก็จะไม่เกิดขึ้น ซึ่งตามธรรมชาติในป่านั้นมีทั้งเชื้อเพลิง เช่น กิ่งไม่ใบไม้แห้งต่างๆ และมีอากาศหรือออกซิเจนอยู่แล้ว หากมีความร้อนเกิดขึ้นมากพอย่อมทำให้เกิดไฟป่าขึ้นได้ โดยต้นเหตุที่ทำให้เกิดความร้อนขึ้นจนกระทั่งกลายเป็นไฟป่าอาจเกิดจากธรรมชาติเอง เช่น ต้นไม้เสียดสีกัน ฟ้าผ่า เป็นต้น อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ไฟป่าจะเกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ทั้งสิ้น

v สาเหตุจากมนุษย์

การกระทำของมนุษย์ที่ทำให้เกิดไฟป่านั้นมีทั้งตั้งใจหรือโดยประมาท สามารถแบ่งตามลักษณะของกิจกรรมและวัตถุประสงค์ที่เกิดขึ้น ดังนี้

·       การเก็บหาของป่า เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟป่ามากที่สุด การเก็บหาของป่าได้แก่ ตีผึ้ง ผักหวาน

ไม้ไผ่ หน่อไม้  เก็บไข่มดแดง เห็ด และฟืน

·       ล่าสัตว์ จุดไฟเพื่อให้สัตว์หนีออกจากที่ซ่อน เช่น จุดไฟเผาทุ่งหญ้าเพื่อให้หญ้าแตกยอดอ่อน  ล่อให้สัตว์ชนิดต่างๆมากินหญ้าแล้วดักรอยิงสัตว์นั้นๆ

·       เผาไร่ เผากำจัดวัชพืชหรือซากพืชหลังจากการเก็บเกี่ยว เพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกในรอบต่อไป  โดยปราศจากการควบคุมหรือการทำแนวกันไฟ ทำให้ไฟลุกลามเข้าไปในป่า

·       เลี้ยงสัตว์ ชาวบ้านที่เลี้ยงสัตว์แบบปล่อยให้หากินตามธรรมชาติ มักลักลอบจุดไฟเผาป่าให้มีสภาพเป็นทุ่งหญ้าเพื่อเป็นแหล่งอาหารสัตว์

·       นักท่องเที่ยว ความประมาทจากคนที่ไปพักแรมในป่า หุงต้มอาหาร จุดไฟให้แสงสว่าง ให้ความอบอุ่น แล้วดับไม่สนิททำให้เกิดเป็นไฟป่าในที่สุด

·       เพื่อความสะดวกในการเดินผ่านป่า จุดไฟเผาให้ป่าโล่ง ง่ายต่อการเดินผ่าน คนที่เดินผ่านป่าในเวลากลางคืนมักจุดไฟเผาป่าเพื่อความสะดวกต่อการเดินทาง

·       ความขัดแย้ง ในบางกรณีชาวบ้านที่เกิดความขัดแย้งกับหน่วยงานราชการในพื้นที่ เช่น สวนป่า อุทยานแห่งชาติ อาจกลั่นแกล้งโดยการจุดไฟเผาป่า

·       ลักลอบทำไม้ เผาทางให้โล่งเตียนเพื่อสะดวกในการลากไม้ ไล่ยุง  หุงต้มอาหารในป่า

·       จุดไฟโดยความคึกคะนอง โดยไม่มีวัตถุประสงค์ใดๆแต่จุดเล่นเพื่อความบันเทิงใจเท่านั้น

มนุษย์นี่เหลือเชื่อจริงๆใช่ไหม



v ข้อดี   
                   หนังสือคู่มือเล่มนี้ จะรวบรวมเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ และที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยแยกเป็น 4 หมวดหมู่ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ แล้วจึงแยกย่อยในภัยพิบัติต่างๆ โดยในแต่ละเรื่องก็จะอธิบายว่าเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร พื้นที่เสี่ยง สิ่งบอกเหตุ วิธีปฎิบัติในการป้องกันและบรรเทาภัย ทั้งก่อนเกิด เกิดแล้ว และหลังเกิดเหตุ รวมถึงสถิติในการเกิดภัยพิบัติแต่ละเหตุการณ์  นอกจากนี้ ยังมีเรื่องราวที่จำเป็นต้องรู้ เป็นเคล็ดลับให้เราพร้อมรับมือเหตุภัยพิบัติ

v ข้อเสีย
                   หนังสือเล่มนี้มีรูปเล่มที่น่าอ่าน สีสวย แต่เนื้อหาค่อนข้างนิดเดียว อาจจะไม่ครอบคลุมนัก

v ข้อเสนอแนะ 
                   หนังสือเล่มนี้ควรมีเนื้อหาที่มากกว่านี้เพื่อที่จะได้เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านมากขึ้น  เพื่อที่จะได้รับมือกับเหตุภัยพิบัติได้ถูกต้อง











บล็อกโดย นางสาวนรินธร  ภัควันต์ รหัส 5223450128
อ้างอิง  Life Saver Book หนังสือคู่มือป้องกันภัยพิบัติด้วยตนเอง ;  กรุงเทพ ผู้จัดพิมพ์ คณะบุคคลไลฟ์เซฟเว่อร์  พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม 2552


1 ความคิดเห็น:

อิสรภาพแห่งความคิด สิงห์แสด ม.อุบลฯ กล่าวว่า...

ไฟ มาป่าหมด ช่วยกันรักษาผืนป่าไว้ให้ลูกหลานนะคับ....
1696 รับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ อุบัติภัยทางน้ำ กรมสื่อสารทหารเรือ ไม่คิดค่าบริกา