กลับไปหน้าหลัก

Book Review : เอาตัวรอดอย่างไร ? เมื่อมีภัยพิบัติ

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554


เอาตัวรอดอย่างไร ? เมื่อมีภัยพิบัติ
โดย นายรอบคอบ/รวบรวม
โลกกำลังเกิดอะไรขึ้น ภัยพิบัติอะไรจะถาโถม หรือโลกเรากำลังจะแตกแล้วจริงๆ !!!
 
1.       ภัยพิบัติที่เกิดจากธรรมชาติหรือพายุ คือ ภัยธรรมชาติเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติหรือมนุษย์ได้ทำให้เกิดขึ้นมา ซึ่งภัยธรรมชาติจะรวมถึงการเกิดอุทกภัย การเกิดพายุ การเกิดแผ่นดินไหว เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติต่างๆ ไม่ว่าจะร้ายแรงหรือน้อยก็เกิดขึ้นได้ทุกเวลาโดยที่มนุษย์ไม่ได้ตั้งตัว

วิธีป้องกันภัยจากพายุ / ข้อควรจำเมื่อเกิดพายุ
-          ถ้ามีการแจ้งเฝ้าระวังเกี่ยวกับพายุก็มีการเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าเผื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน
-          เมื่อมีการแจ้งเตือนอีกไม่เกิน 24 ชั่วโมงจะมีพายุเข้า ดังนั้นเตรียมรับมือไว้ให้พร้อม
-          เมื่อมีพายุ ฝนตกหนักอาจเกิดน้ำท่วมได้ ดั้งนั้นควรย้ายไปอยู่ที่สูงๆ

ข้อควรปฏิบัติ

-          ติดตามข่าวสารวิทยุหรือโทรทัศน์ไว้ตลอด
-          หลบอยู่ในที่กำบังมั่นคงให้อยู่ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง
-          หากใกล้ๆบ้านมีต้นไม้ใหญ่ให้ระมัดระวังว่าอาจจะโค่นถล่มทับบ้านได้ หากเป็นไปได้ควรตัดต้นไม้ทิ้ง
-          เก็บตุนอาหารไว้ให้พร้อม เผื่อต้องอพยพหนี

2.       สึนามิคลื่นยักษ์แห่งท้องทะเล คือ คลื่นหรือกลุ่มคลื่นที่มีจุดกำเนิดอยู่ในเขตทะเลลึก ซึ่งมักปรากฏหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ แผ่นดินไหวใต้ทะเล ภูเขาไฟระเบิด ดินถล่ม คลื่นยักษ์สึนามิสามารถเข้าทำลายพื้นที่ชายฝั่ง ทำให้เกิดการสูญเสียทังชีวิตและทรัพย์สินอย่างที่ประเทศไทยเคยผจญกับคลื่นยักษ์ชนิดนี้มาแล้ว
ข้อควรปฏิบัติ
10 ข้อปลอดภัยท่องให้ขึ้นใจเกี่ยวกับสึนามิ
1.       ติดตามข่าวสาร ถ้ามีประกาศว่ากำลังจะเกิดสึนามิให้รีบอพยพทันที่
2.       ห้ามลงทะเล ห้ามลงไปอยู่บริเวณชายหาดเมื่อมีประกาศเตือนภัย
3.       สึนามิประกอบด้วยคลื่นน้ำเป็นระลอก เข้าชายฝั่งความเร็วสูง
4.       สึนามิเกิดได้ตลอดไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน
5.       อย่าลืมว่าคลื่นยักษ์สามารถพัดลุกเข้าไปในม่น้ำลำคลองนับเป็นกิโลเมตรได้
6.       สึนามิเคลื่อนที่เร็วกว่าคนวิ่ง ฉะนั้นอย่าคิดวิ่งแข่งกับสึนามิเด็ดขาด
7.       หากเป็นไปได้ไม่ควรก่อสร้างบ้านใกล้ชายฝั่ง
8.       อย่าลืมที่จะช่วยเหลือเด็ก คนชรา คนพิการ ผู้ที่อ่อนแอกว่าพาพวกเขาหนีภัยด้วย
9.       ควรหนีภัยด้วยการเดินเท้า
10.   รอฟังประกาศจากทางการว่าปลอดภัยแล้ว ถึงจะเดินทางกลับสู่ที่พัก


3.       แผ่นดินไหว คือ แผ่นดินไหวที่เกิดจากธรรมชาติเป็นธรณีพิบัติภัยชนิดหนึ่ง ส่วนมากเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดจาการสั่นสะเทือนของแผ่นดิน อันเนื่องมาจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อระบายความเครียดที่สะสมไว้ในโลกออกมาอย่างฉับพลันเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่

ข้อควรปฏิบัติในการป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหว
ก่อนเกิดแผ่นดินไหว

-          ตรวจสอบว่าที่พักที่อาศัยอยู่นั่นตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยงแผ่นดินไหวหรือไม่ ควรเสริมหรืออาคารให้มั่นคงแข็งแรงมากขึ้นเพื่อต้านแผ่นดินไหว ทำที่ยึดตู้ และเฟอร์นิเจอร์ไม่ให้ล้ม
-          หลีกเหลี่ยงการอยู่ใกล้หน้าต่าง หรือผนังห้อง เตรียมเครื่องอุปโภคบริโภคให้พร้อมเพื่อเอาไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน
-          จัดหาเครื่องรับวิทยุสำหรับเปิดฟังข่าวสารคำเตือน เตรียมอุปกรณ์นิรภัยสำหรับช่วยชีวิต
-          เตรียมยารักษาโรคและเวชภัณฑ์ให้พร้อมในการใช้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น จัดให้มีการศึกษาถึงการปฐมพยาบาล
-          ไม่ควรวางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากๆ ไว้ในที่สูงเพราะอาจล่วงหล่นลงมาทำความเสียหายได้

ขณะเกิดแผ่นดินไหวควรทำตัวอย่างไร

-          ตั้งสติ อยู่ในที่ที่แข็งแรงปลอดภัยห่างจากประตู หน้าต่างและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ไม่ตื่นตระหนกมากเกินไป เปิดวิทยุรับฟังสถานการณ์คำแนะนำคำเตือนต่างๆจากทางราชการ
-          ไม่ควรใช้ลิฟต์ เพราะหากไฟดับอาจจะติดอยู่ภายในลิฟต์  หรือหากออกจากอาคารไม่ได้ให้หมอบอบู่ใต้โต๊ะ หรือยืนชิดติดกับเสาที่แข็งแรง
-          มุดเข้าไปนอนใต้เตียงอย่าอยู่ใต้คานหรือที่ที่มีน้ำหนักมาก อยู่ใต่โต๊ะที่แข็งแรงเพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งที่จากหล่นทับ
-          หากอยู่ในรถให้รีบจอดในที่โล่งแจ้ง ห้ามหยุดใต้สะพานหรือใต้สายไฟฟ้าแรงสูงละให้อยู่ภายในรถจนกว่าแผ่นดินจะไหวหรือสั่นสะเทือน

 
4.       เตรียมรับมืออย่างไร เมื่ออุทกภัยมาเยือน

            วิธีรับมือก่อนเกิดอุทกภัย

-          เชื่อฟังคำเตือนของหน่วยงานราชการอย่างเคร่งครัด
-          ทำคันดินหรือกำแพงกั้นน้ำโดนรอบ และเตรียมกระสอบใส่ทรายเพื่อเสริมคันดินที่กั้นน้ำให้สูงขึ้น
-          หากคุณพักอยู่ในบริเวณที่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วมให้ย้ายไปอยู่ในที่สูง อาคารที่มั่นคง ให้พ้นจากระดับน้ำที่เคยท่วมมาก่อน
-          ตระเตรียมอาหารกระป๋อง หรืออาหารสำรองไว้ หรือแม้แต่น้ำดื่มที่ปิดฝาภาชนะแน่น สิ่งที่ห้ามลืมก็คือ ไฟฉาย ถ่านไฟฉาย รวมไปถึงเทียนไขเพื่อไว้ใช้ในยามไฟดับ

วิธีรับมือขณะเกิดอุทกภัย

-          ควรตั้งสติให้มั่นคง  ให้หลบภัยอยู่ในอาคารที่แข็งแรงและอยู่ในบริเวณที่สูงห่างจากระดับน้ำ
-          ให้รีบตัดสะพานไฟ และปิดแก๊สหุงต้มให้เรียบร้อย
-          ไม่ควรเล่นน้ำในขณะที่น้ำท่วม ในขณะเดียวกันจงทำให้ร่างกายอบอุ่นตลอดเวลา
-          ระวังอันตรายจากสัตว์มีพิษชนิดต่างๆ
-          ติดตามเหตุการณ์ที่ดำเนินไปอย่างใกล้ชิด เช่น สังเกตลมฟ้าอากาศ

วิธีรับมือหลังเกิดอุทกภัย
-          หลังจากน้ำท่วมผ่ายพ้นไป การบูรณะซ่อมแซมสิ่งต่างๆก็ต้องเริ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเริ่มจากการเก็บกวาดปรักหักพัง นอกจากนี้ต้องรีบทำความสะอาดซ่อมแซมบ้านเรือน ข้าวของเครื่องใช้ ถนน และสิ่งแวดล้อมต่างๆให้กลับคืนสู่สภาพปกติ
-          โรคระบาดมักจะตามมาเสมอ สิ่งสำคัญคือ เราจะต้องดูแลรักษาสุขภาพโดยการดื่มน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่ปรุงสุก และอย่าลืมตรวจสุขภาพว่าได้ติดโรคระบาดระหว่างน้ำท่วมหรือเปล่า

ข้อดี

          หนังสือเอาตัวรอดอย่างไร? เมื่อมีภัยพิบัติ เนื่องจากในปัจจุบันโลกของเรากำลังเกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดภัยพิบัติอะไรต่างๆถาโถมเข้ามา หรืออาจจะเกิดว่าโลกของเรากำลังจะแตกแล้วจริงๆ ฉะนั้นหนังสือเล่มนี้จึงช่วยหัยเราได้รู้ที่มาที่ไปของภัยพิบัติต่างๆและยังสามารถรู้วิธีการเอาตัวรอดเมื่อเกิดภัยพิบัติ  ถ้าอยู่ในภาวะคับขันเราควรทำอะไรได้………และต้องเตรียมพร้อมรับมืออย่างไรซึ้งในหนังสือเล่มนี้จะมีเนื้อหาฉบับย่อและความรู้เบื้องต้นให้เราปฏิบัติและเป็นหนังสือที่เราสามารถพกพาได้สะดวกเมื่อภัยกะทัดรัดและยังมีภาษาที่เข้าใจง่ายอีกด้วย

ข้อเสีย

          เนื่องจากหนังสือเล่มนี้เป็นคู่มือการเอาตัวรอดเมื่อภัยพิบัติมาเยือนและรูปเล่มหนังสือภายนอกเหมือนไม่ได้ใช้ภาษาวิชาการซึ่งออกแนวเหมือนหนังสือสำหรับเด็กจึงทำให้คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจที่จะอ่านหนังสือเล่มนี้และมองข้ามเนื้อหาในเล่มและสำหรับบุคคลที่อ่านหนังสือเล่มนี้จะพบว่าหนังสือออกไปในแนวหนังสือวิชาการมากกว่าจึงทำให้เราไม่ค่อยเข้าใจและไม่ค่อยสนใจที่จะอ่านต่อจนจบทำให้เกิดอาการเบื่อได้ในบางครั้ง

ข้อเสนอแนะ


          เนื้อหาในเล่มควรใช้ภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่ควรใช้ภาษาที่เป็นวิชาการมากจนเกินไป ในขณะเดียวกันหนังสือเล่มนี้ควรบอกวิธีปฏิบัติที่เป็นเบื้องต้นและใช้ภาษาประกอบการเขียน เพื่อให้เกิดความสนใจแก่ผู้อ่านให้อ่านต่อจนจบเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านมากขึ้น

 






บทความโดยนางสาวสุพัตรา รินทระ  5223400213
อ้างอิงหนังสือเอาตัวรอดอย่างไร ? เมื่อมีภัยพิบัติ

3 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ถ้าไม่อยากให้เกิดภัยพิบัติก็คงต้องช่วยกันดูแลโลกของเรา

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

พรุ่งนี้อาจารย์งดเรียน แต่อาจารย์ก็จะเข้าไปตรวจเหมือนเดิม ตั้งใจทำน่ะครับ เต็มที่เลย สู้ๆๆ

อิสรภาพแห่งความคิด สิงห์แสด ม.อุบลฯ กล่าวว่า...

เอาตัวให้รอดนะคับเมื่อเกิดภัย พิบัติ ต่าง ด้วยความปราถนาดีจาก...ชมรมวิทยุสื่อสารซีบี ม.อุบลฯ วิทยุเครื่องแดง ช่อง6 ความถี่ 245.0625mhz.