กลับไปหน้าหลัก

Book Review : รู้ทันภัยพิบัติ

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ภัยธรรมชาติ
     ภัยธรรมชาติ แยกออกได้เป็น 2 คำ คือภัย กับ ธรรมชาติ เสียก่อน ด้วยเหตุผลในแง่ความสะดวกเพื่อหาความหมายของคำภาษาอังกฤษจากคำว่า natural disaster โดยหนังสืออย่างน้อยสองเล่มใช้คำว่า ภัย แทนคำภาษาอังกฤษ disaster ส่วน ธรรมชาติ ก็ตรงกับคำว่า natural
Disaster เป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความสูญเสียและการทำลายอย่างใหญ่หลวง เช่น อุบัติเหตุน้ำท่วม หรือ พายุ
Natural เป็น ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนโลก ซึ่งมิใช่ถูกสร้างหรือควบคุมโดยมนุษย์ เช่น สัตว์ พืช ภูมิอากาศ เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกัน จะหมายถึง เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความสูญเสียและการทำลายล้างอย่างกว้างใหญ่หลวงโดยมิใช่เหตุการณ์ที่เกิดจากการสร้างหรือควบคุมโดยมนุษย์
อาจสรุปได้ว่า
-ประการแรก ภัยธรรมชาติต้องกระทบหรือเป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงรูปแบบหรือวิถีการดำรงชีวิต โดยภัยนั้นอาจมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันมาก เช่น ทำให้หลังคาบ้านเสียหายไปจนถึงระดับคนตายเป็นแสน
-ประการที่สอง ภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ยังคงเกิดอยู่ และมีแนวโน้มว่า จะเกิดขึ้นอีก ในอนาคต
-ประการที่สาม ภัยธรรมชาติที่รู้และเข้าใจโดยทั่วไปมักเกี่ยวข้องและ หรือ พาดพิงกับบางวิชา เช่น ภูมิศาสตร์กายภาพ อุตุนิยมวิทยาและธรณีวิทยา ด้วยเหตุนี้ เมื่อแบ่งภัยธรรมชาติออกเป็นประเภท จะสังเกตเห็นชัดเจนว่า ภัยธรรมชาติเกี่ยวข้องกับพื้นดิน น้ำ ลม ฟ้า และอากาศ
   
     ภัยธรรมชาติ คือเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความสูญหาย เสียหายหรืออันตรายอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนจำนวนมาก โดยเหตุการณ์นั้นจะเกิดจากธรรมชาติ อาจแยกเป็นภัยธรรมชาติทางด้านพื้นดิน ลม ฟ้า อากาศ ธรรมชาติดังกล่าวนั้นอาจเป็นผลสืบเนื่องจากการกระทำของมนุษย์หรือไม่ใช่ก็ได้
เช่น 


      อุทกภัย หรือเรียกง่ายๆ ว่าน้ำท่วม(Flood) หมายถึง การที่มีน้ำปริมารมากเกินกว่าพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งจะสามารถรองรับได้ สาเหตุย่อมมาจากปริมาณน้ำที่มีมากจนกระทั่งเอ่อท่วมล้นขึ้นมา ดังนั้นน้ำท่วมจึงเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แล้วผ่านพ้นไปเมื่อน้ำลดลงสู่สภาวะปกติแต่จะสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ริมน้ำหรือขวางกั้นเส้นทางไหลของกระแสน้ำ


      ดินถล่ม แม้จะเกิดขึ้นหลังจากฝนตกหนัก แต่ต้นตอของดินถล่มสะสมมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งยังส่งผลต่อเนื่องถึงความรุนแรงในแต่ละพื้นที่ด้วย
- สาเหตุจากธรรมชาติเป็นปฐมบทต้นตอให้เกิดภัยจากดินถล่ม ทั้งปัจจัยสำคัญสำคัญจากฝนตกหนัก ลักษณะของดินที่มีการยึดตัวต่างกัน และชั้นดินที่หนา 1-2 เมตร มีโอกาสเกิดดินถล่มมากกว่าบริเวณที่มีชั้นดินบางหรือหนากว่านี้ สุดท้ายพื้นที่ที่มีความลาดชันมากกว่า 30% ย่อมเสี่ยงต่อดินถล่มสูงขึ้นไปตามลำดับ
-สาเหตุจากมนุษย์เป็นตัวเสริมซ้ำเติมให้เกิดดินถล่มง่ายและรุนแรงยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ทำลายป่า ทำการเกษตรในบริเวณที่ลาดชัน สร้างบ้านเรือนอยู่ตามเชิงเขา หรือแม้กระทั่งก่อสร้างถนนตามไหล่เขา โดยไม่ป้องกันดินถล่มให้ดีพอ

      แผ่นดินไหว เป็นภัยพิบัติที่ไม่ต้องขึ้นอยู่กับฤดูกาล ไม่มีฤดู แผ่นดินไหวให้เฝ้ารอ แผ่นดินไหวอาจเกิดวันเวลาใดก็ได้ ตามสาเหตุที่แยกออกเป็น 2 ลักษณะ
 -สาเหตุตามธรรมชาติ แยกออกเป็น การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก แผ่นดินถล่ม อุกกาบาตตกกระทบพื้นโลก ภูเขาไฟระเบิด
-สาเหตุจากการกระทำของมนุษย์ แยกออกเป็น การทำเมือง ฉีดน้ำลงใต้ดิน การเก็บกักน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่ น้ำหนักของน้ำอาจกดให้ดินยุบตัว ทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน

ข้อดี
          รู้จักวิธีการรับมือกับภัยธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ โดยบอกให้ทราบและเข้าใจถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดภัยธรรมชาติแต่ละประเภท ตลอดจนขีดขั้นระดับความรุนเเรงที่ต่างกัน เพื่อให้ผู้อ่านตื่นตัว เตรียมพร้อมรับมือ และหาหนทางแก้ไขวิกฤตให้หนักเป็นเบา

ข้อเสีย
           บางครั้งก็ไม่อาจสามารถรับมือกับภัยธรรมชาติได้ เพราะหนังสือเขียนรายละเอียดไม่ค่อยชัดเจน และวิธีการบ้างวิธีอาจยากที่จะอ่านเเละทำความเข้าใจ  เมื่อทราบข้อมูลก็ยังหลีกเลี่ยงไม่ทันการณ์

ข้อเสนอแนะ

           หนทางที่ดีที่สุดในการเผชิญภัยธรรมชาติคือ ต้องเตรียมรับมือให้พร้อม ถึงจะเป็นภัยธรรมชาติที่ป้องกันไม่ได้ อย่างน้อยก็ต้องพยายามหาหนทางบรรเทาความเสียหายให้น้อยที่สุด รู้จักวิธีรับมือกับภัยธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ โดยบอกให้ทราบและเข้าใจถึงเหตุที่ทำให้เกิดภัยธรรมชาติตลอดจนระดับความรุนแรงที่แตกต่าง เพื่อให้ผู้อ่านตระหนักหาหนทางแก้ไขวิกฤตให้หนักเป็นเบา แม้ภัยธรรมชาติจะเป็นเรื่องที่น่ากลัว แต่ก็มิควรตระหนกจนขาดสติ ทุกอย่างมีหนทางป้องกันความสูญเสียได้ไม่มากก็น้อย หรือกระทั่งไม่สามารถหยุดยั้งได้ แต่เมื่อทราบข้อมูลล่วงหน้าก็ยังหลีกหนีได้ทันการณ์ ทั้งนี้ด้วยเงื่อนไขสำคัญ ต้องการรู้เท่าภัยธรรมชาติเสียก่อน                                     
 
         Book Riview : โดยนายปณัฐกรณ์  บุตรงาม  
             อ้างอิง : กฤษดา  เกิดดี. รู้ทันภัยพิภัยพิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์วงกลม, 2553
                             


2 ความคิดเห็น:

Save_The_World กล่าวว่า...

ตัวอย่่างเล็กๆ น้อยๆ ที่ที่เกิดปัจจุบันและมีผลที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต

อิสรภาพแห่งความคิด สิงห์แสด ม.อุบลฯ กล่าวว่า...

ภัยพิบัติเกิดขึ้นได้เสมอคับ ฝากไว้แล้วกันคับ ย่านความถี่วิทยุสมัครเล่นจังหวัดอุบลราชธานี (E27AV) สถานีทวนสัญญาณ 145.700 Dup- ร่วมด้วยช่วยกันคับ