กลับไปหน้าหลัก

Book Review : ระบบสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ

วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

        
ระบบสื่อสารเป็นหัวใจหลักที่เกี่ยวข้องกบเทคโนโลยีที่ใช้ในการเตือนภัย ระบบสื่อสารที่กล่าวถึงมักใช้ในลักษะเป็นเครือข่ายเรียกว่า เครือข่ายสื่อสารที่ใช้ในปัจจุบันสามารถจำแนกตามประเภทการใช้งานในปัจจุบันได้ดังนี้
·       เครือข่ายวิทยุสื่อสาร ประกอบด้วย ระบบวิทยุ HF/SSB   ระบบวิทยุ VHF/FM 
ระบบวิทยุ UHF/FM  และระบบวิทยุTRUNKED RADIO
·       เครือข่ายโทรศัพท์ ประกอบไปด้วยระบบโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติ ระบบโทรศัพท์มือถือ และระบบโทรศัพท์สาธารณะ
·       เครือข่ายดาวเทียมสื่อสาร ประกอบด้วยระบบสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน ระบบสถานีดาวเทียมเคลื่อนที่ และระบบชุดดาวเทียมเคลื่อนที่เร็ว
·       เครือข่ายสื่อสัญญาณ ประกอบด้วยระบบสถานีถ่ายทอดวิทยุไมโครเวฟ และระบบเคเบิลใยแก้วนำแสง
·       เครือข่ายการประชุมวิดีทัศน์ทางไกล ประกอบด้วยระบบการประชุมวิดีทัศน์ทางไกล ระบบเชื่อมต่อต่างๆ และระบบสิ่สัญญาณ
·       เครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียง ประกอบด้วยระบบวิทยุกระจายเสียง AM และระบบวิทยุกระจายเสียง FM
·       เครือข่ายสถานีวิทยุโทรทัศน์ ประกอบด้วยระบบวิทยุโทรทัศน์ และระบบสื่อสัญญาณ
·       เครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ระบบอินเตอร์เน็ต ระบบอินทราเน็ต ระบบเอ็กซ์ทราเน็ต และระบบอีเมล์

ปัญหาในการเตรียมการป้องกันและลดผลกระทบ ประกอบด้วย
1) การจัดทำข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยและพื้นที่อพยพยังมีความซ้ำซ้อน เนื่องจากมีหลายหน่วยงานที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป และบางภัยพิบัติยังไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม

2) ขาดการประสานงานในการจัดทำแผนงานและโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆในระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ ดังเช่น การติดตั้งระบบเตือนภัยมีหลายหน่วยงานที่ดำเนินการในแต่ละวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน

3) การฝึกอบรมและเตรียมความพร้อมในการเผชิญกับภัยพิบัติมีไม่เพียงพอทั้งในหน่วยงานเดียวกันและระหว่างหน่วยงาน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงองค์กรเอกชนและมูลนิธิต่างๆ เนื่องจากขาดงบประมาณและอุปกรณ์ในการดำเนินการ

4) บุคลากรของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะบุคลากรประจำที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด นอกจากนี้ในพื้นที่หรือท้องถิ่นยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและรวมทั้งบุคลากรในระดับปฏิบัติการ

5) ระบบเตือนภัยและเครือข่ายในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั้งในส่วนของหน่วยงานอื่นๆ ที่ดำเนินการและที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยดำเนินงานเนื่องจากอยู่ระหว่างการศึกษา พัฒนาและติดตั้ง อีกทั้งยังติดขัดในด้านงบประมาณ

6) การแจ้งเตือนภายในระหว่างหน่วยงานยังไม่มีรูปแบบแนวทางและดำเนินงานที่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับความคุ้นเคยส่วนตัวของผู้ปฏิบัติงานในแต่ละหน่วยงาน

7) ขาดการวิจัยและพัฒนาในเรื่องภัยพิบัติอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เนื่องจากในปัจจุบันมีบุคลากรและงบประมาณจำกัด การดำเนินงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในปัจจุบันส่วนใหญ่จึงเป็นการช่วยเหลือและฟื้นฟูในปัญหาเฉพาะหน้า

8) การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้เกี่ยวกับภัยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นไม่มีความต่อเนื่องและดำเนินการได้ไม่เต็มศักยภาพเนื่องจากขาดงบประมาณในการดำเนินงาน

9) ระบบการพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่สมบูรณ์ การติดต่อระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่นยังมีปัญหาทั้งในด้านการเชื่อมโยงและข้อจำกัดในด้านบุคลากร

10) การปฏิบัติตามนโยบายไม่ต่อเนื่อง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูงอยู่เป็นประจำเกือบทุกปี

11) หน่วยงานในท้องถิ่น เช่น องค์กรบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์กรบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ไม่ให้ความสำคัญในภารกิจและอำนาจหน้าที่รับผิดชอบด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติเท่าที่ควรจะเป็น บางท้องถิ่นไม่ได้มีการเตรียมงบประมาณการดำเนินการในด้านนี้

12) เครื่องจักรกล เครื่องมือและอุปกรณ์ในการบริหารจัดการภัยพิบัติมีไม่เพียงพอและไม่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่โอนมาจากหน่วยงานเดิมและเป็นเครื่องมือก่อสร้าง แต่เครื่องมือในการจัดการภัยพิบัติ ยังมีไม่เพียงพอ อาทิเช่น รถยนต์กู้ภัยอเนกประสงค์ เรือท้องแบน สะพานเบลลีย์ เลื่อยโซ่ยนต์ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในด้านเครื่องจักรเครื่องมือให้เหมาะสมกับประเภทของภัยและสภาพภูมิประเทศ

2.2 ปัญหาในการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ภัยพิบัติ ประกอบด้วย

1) กำลังเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครและอุปกรณ์ในการบริหารจัดการภัยพิบัติทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ในขณะนี้มีการรวบรวมข้อมูลแล้วบางส่วน ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินการในระยะหนึ่ง ทำให้ยังไม่สามารถจัดทำแผนงานเตรียมพร้อมรับภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2) งบประมาณการฝึกซ้อมการบริหารจัดการภัยพิบัติ ในพื้นที่เสี่ยงภัยมีไม่เพียงพอทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องจริงจังและเต็มศักยภาพ นอกจากนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังขาดการมีส่วนร่วมในการตั้งงบประมาณและร่วมการฝึกซ้อมฯ แผน เท่าที่ควร

3) งบประมาณในการส่งเสริมและให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับภัยพิบัติ การจัดการภัยพิบัติและการเตรียมตัวเพื่อจะรับภัยที่จะเกิดขึ้นต่างๆ อย่างต่อเนื่องยังไม่เพียงพอทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มศักยภาพ อีกทั้งยังขาดแคลนบุคลากรและเครื่องมือในการฝึกอบรม

4) ขาดแนวทางและกฎหมายเฉพาะ ที่จะรองรับในการจัดระบบประกันภัยกับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อเป็นการลดภาระและค่าใช้จ่ายของรัฐบาล

5) การศึกษา ฝึกอบรม การให้ความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักแก่ประชาชนและเยาวชนเกี่ยวกับภัยพิบัติในด้านต่างๆ ยังดำเนินการได้ไม่ทั่วถึง เนื่องจากยังอยู่ระหว่างการฝึกอบรมเพื่อผลิตวิทยากรได้แก่ เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอในการดำเนินการ

6) ในบางสถานการณ์และบางพื้นที่ ยังขาดการประชาสัมพันธ์หรือสื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีการเตรียมพร้อมในการรับภัยพิบัติได้อย่างทั่วถึง นอกจากนี้ในการประกาศเตือนภัยล่วงหน้าแต่ยังไม่มีขอบเขตความรุนแรงการเกิดภัยที่ชัดเจน

2.3 ปัญหาการจัดการภัยในภาวะฉุกเฉิน ประกอบด้วย

1) แผนการบริหารจัดการสาธารณภัยยังมีไม่ครบถ้วนทุกประเด็น และตามสภาวะการเกิดภัยบางแผนงานที่มีเป็นลักษณะกว้างๆ เป็นแนวทางหรือมาตรการ ไม่ได้ลงลึกถึงการปฏิบัติอย่างแท้จริง โดยควรระบุเป้าหมายทรัพยากรที่ต้องใช้และภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบ และการควบคุมติดตามและประเมินผล

2) แผนการบริหารจัดการสาธารณภัยในปัจจุบันมีการกำหนดเป็นแผนระดับชาติ คือ แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ และต้องมีการจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เพื่อให้มีความสอดคล้องเป็นระบบต่อเนื่องและมีกลไกในทางปฏิบัติในระดับพื้นที่ แต่ในทางปฏิบัติยังขาดคู่มือการปฏิบัติงานและแผนการประสานงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ อย่างบูรณาการ โดยส่วนใหญ่เป็นแผนเฉพาะกิจเพื่อป้องกันและช่วยเหลือเป็นปีๆ ไป และมีลักษณะต่างคนต่างทำ ไม่ประสานบูรณาการ รวมทั้งขาดการยอมรับจากทุกฝ่าย

3) รัฐบาลและผู้บริหารระดับสูงในระบบราชการขาดความตระหนักและให้ความสนใจในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเท่าที่ควร เนื่องจากมีภารกิจด้านอื่นๆ อยู่มาก การบริหารจัดการสาธารณภัยจึงเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ถือนโยบายและแผนเร่งด่วน หรือวาระแห่งชาติ ดังนั้น ในทางปฏิบัติเมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น ทั้งนักการเมืองและผู้บริหารระดับสูงมักสั่งการในทางที่เป็นการตัดสินใจทางการเมืองเป็นหลัก

4) การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการฝึกซ้อมและบรรเทาสาธารณภัย เป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งในการบริหารจัดการสาธารณภัย ปัญหาดังกล่าวอาจมีสาเหตุจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอกับปริมาณและคุณภาพของงาน ในหลายกรณีเจ้าหน้าที่ขาดความรู้และประสบการณ์ที่จะควบคุมกิจกรรมที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ บางกรณีเจ้าหน้าที่ขาดความสนใจละเลยปล่อยให้มีการฝ่าฝืนกฎหมาย และหลายกรณีมีการละเว้นการปฏิบัติ โดยจะมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดแค่ชั่วเวลาหนึ่งเท่านั้น

5) ความสับสนวุ่นวายในการดำเนินการจนทำให้เกิดการกระทำ หรือพฤติกรรมที่ไร้เหตุผลของผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์หรือผู้ช่วยเหลือจากภายนอก เช่น การขโมยทรัพย์สินของผู้ประสบภัย เป็นต้น

6) ผู้ช่วยสนับสนุนและเหลือจากภายนอกมีจำนวนมากและต่างคนต่างปฏิบัติงานอย่างอิสระ ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ไม่มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบที่ดี ประกอบกับ กำลังเจ้าหน้าที่/อาสาสมัครที่มาปฏิบัติงานอาจยังไม่เข้าใจแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจนทำให้เกิดความสับสนและวุ่นวาย

7) ขาดความสัมพันธ์และการประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชน และการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ บทบาท และการสนับสนุนด้านต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แม้ว่าในปัจจุบันมีการฝึกซ้อมแผนร่วมกันในทุกภาคส่วนแต่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้ทั่วถึงทั้งประเทศ และในทุกพื้นที่เสี่ยงภัยเนื่องจากในแต่ละภัยก็มีลักษณะการบริหารจัดการที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังติดขัดในด้านของความพร้อมและงบประมาณในการดำเนินการ

8) การให้ข่าวสารและเปิดเผยข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ นอกจากนี้ผู้ให้ข่าวสารควรมีความเป็นเอกภาพ โดยในปัจจุบันเมื่อเกิดเหตุการณ์แล้วจะมีความสับสนในด้านข่าวสารค่อนข้างมาก

9) การบริหารจัดการภัยพิบัติในบางพื้นที่มีปัญหาเนื่องจากผู้สั่งการไม่เข้าใจลักษณะสภาพพื้นที่และพฤติกรรมของบุคคลในพื้นที่ ซึ่งอาจทำให้เกิดสถานการณ์ล่อแหลม ต่างฝ่ายต่างมีความเครียด หากไม่ได้รับการฝึกอบรมการบริหารจัดการภัยพิบัติและการควบคุมสถานการณ์จะทำให้การดำเนินการในพื้นที่ทำได้ยาก


v ข้อดี
                               หนังสือคู่มือเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติเล่มนี้เป็นหนังสือที่รวบรวมเพื่อเผยแพร่ความรู้ทั่วๆ ไปเกี่ยวกับภัยพิบัติธรรมชาติ ในแง่มุมต่างๆ ที่ค่อนข้างเข้าใจง่าย มีเนื้อหาประกอบด้วย ความรู้ทั่วไปด้านอุตุนิยมวิทยา การพยากรณ์อากาศ ภูมิอากาศและฤดูกาลของประเทศไทย ปรากฎการณ์เอลนีโญ ลานีญา เอนโซ่ ภาวะเรือนกระจกและโลกร้อน ผลกระทบจากชั้นโอโซนถูกคุกคาม ผลกระทบด้านต่างๆจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว แนวรอยเลื่อนภายในประเทศไทย ภัยพิบัติทางธรรมชาติและเกณฑ์การเตือนภัย เช่น วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง คลื่นพายุซัดฝั่ง คลื่นลมแรง ดินถล่ม ไฟป่า แผ่นดินไหว การเฝ้าระวัง การแจ้งเตือนภัย การอพยพ รวมถึงเทคโนโลยีที่ใช้เตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือวิชาการที่ทรงคุณค่าเล่มหนึ่ง


v ข้อเสีย 
                    หนังสือเล่มนี้ค่อนข้างมีเนื้อหาน้อย แต่จะมีหลากหลายหัวข้อ ในบางเรื่องมีเนื้อหานิดเดียว มีเนื้อหาไม่ครอบคลุมนัก ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ประชาชนคนธรรมดาอาจจะอ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง   เช่น ระบบสื่อสารหลักที่เกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ต้องเป็นพวกที่ทำงานด้านนี้ถึงจะเข้าใจ

v ข้อเสนอแนะ 
                      ผู้ที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้จะช่วยจุดประกายให้ผู้อ่านสามารถที่จะติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านสารสนเทศและการสื่อสารโทรคมนาคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว









บล็อกโดยนายโยธิน รูปโฉม รหัส 5223411475
อ้างอิง  คู่มือเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ กรุงเทพ
ดอกหญ้ากรุ๊ป 2549

1 ความคิดเห็น:

อิสรภาพแห่งความคิด สิงห์แสด ม.อุบลฯ กล่าวว่า...

ชมรมวิทยุสื่อสารซีบี ม.อุบลฯ สแตนบาย CH6 ความถี่245.0625 MHz. (เครื่องแดง)
สมาคมวิทยุอาสาสมัครจังหวัดอุบลฯ ความถี่ 145.700 MHz. Dup-600 (เครื่องดำ)
ศูนย์ข่าวบ้านบัว ม.อุบลฯ ความถี่ 142.525 MHz.
....ด้วยความปราถนาดีจาก มอทราย03 ว.61