กลับไปหน้าหลัก

Book Review : เรื่อง “โลกวิกฤต” รายงานล่าสุดด้านสิ่งแวดล้อมจากสถาบัน WORLDWATCH

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554


โดย เลสเตอร์ อาร์ บราวน์
บรรณาธิการ
ผศ.ปาริชาติ สุขุม
บรรณาธิการแปล

โลกที่กำลังร้อนระอุ

           อากาศของโลกเราเป็นผลของจากความสมดุลที่แสนเปราะบางระหว่างการนำพลังงานมาใช้  กระบวนการทางเคมี  และปรากฏการณ์ทางกายภาพบนดาวพระศุกร์อากาศจะร้อนจนเลือดของมนุษย์เดือด  ส่วนบนดาวอังคารมนุษย์อาจแข็งตายได้ในทันที  ความแตกต่างของอุณหภูมิเกิดขึ้นจากหลายองค์ประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันออกไปอย่างมากในบรรยากาศของดาวเคราะห์แต่ละดวง
   ดาวเคราะห์ทั้ง  3  ดวงนี้  ได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ปริมาณมหาศาล  แต่ปริมาณของพลังงานที่สะท้อนกลับไปสู่อวกาศในรูปของความร้อนขึ้นอยู่กับก๊าชชนิดต่างๆ  ในบรรยากาศ  ก๊าชบางชนิด  เช่น คาร์บอนไดออกไซด์  และมีเทน  มีแนวโน้มจะดูดเอาความร้อนในบรรยากาศชั้นต่ำไว้ในลักษณะเดียวกับที่กระจกเก็บกักความร้อนในเรือนกระจกและทำให้อุณหภูมิในนั้นสูงขึ้น
   อุณหภูมิที่ร้อนแรงของดาวพระศุกร์เป็นผลผลิตของบรรยากาศซึ่งประกอบด้วยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์เสียเป็นส่วนใหญ่จนนำไปสู่ปรากฏการณ์เรือนกระจกที่ไม่มีการควบคุม  ดาวอังคารนั้นมีก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์  หรือก๊าชเรือนกระจกอื่นๆ  น้อยเกินกว่าจะก่อให้เกิดอุณหภูมิเหนือจุดเยือกแข็ง  ในทางตรงกันข้ามโลกมีบรรยากาศที่มีไนโตรเจนเป็นหลัก  มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียงร้อยละ  0.03 ซึ่งอาจจะแตกต่างกันออกไปเล็กน้อยตลอดระยะเวลาร้อยล้านปีที่ผ่านมา
   ความคิดที่ว่ากิจกรรมของมนุษย์อาจทำให้ความเสียสมดุลที่ละเอียดอ่อนนี้เสียไปแล้ว  เริ่มจากข้อเสนอของนักเคมีชาวสวีเดน  ชื่อ  สวันเต้  อาร์เรนนัส  (Svante Arrhenius)  ใน   ค.ศ.  1986  ถ่านหินและเชื้อเพลิงที่มีองค์ประกอบของก๊าชคาร์บอน  เช่น  น้ำมันและก๊าชธรรมชาติ  เมื่อเกิดการเผาไหม้จะปล่อยคาร์บอนออกมา  อาร์เรนนัส  ได้คิดทฤษฎีว่าการเพิ่มปริมาณการใช้ถ่านหินอย่างเร็วรวดในทวีปยุโรป ระหว่างยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม  ช่วยให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นมากและเป็นสาเหตุให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น













   แต่เราต้องการข้อเท็จจริงที่หนักแน่นมาสนับสนุนเพิ่มขึ้น  นักศึกษาปริญญาโทหนุ่มคนหนึ่งชื่อ  ชาร์ลส์  คีลลิ่ง  (Charles Keeling)  รับหน้าที่จัดตั้งสถานีวัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บนภูเขาไฟฮาวายบนเกาะเมาน่า โอลา  เพื่อทำการทดสอบอากาศที่ปราศจากมลพิษในใจกลางมหาสมุทรแปซิฟิก  คีลลิ่งวัดได้ว่า  ความเข้มข้นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้เพิ่มขึ้นจาก  315  ส่วนต่อ  1  ล้านส่วนใน  ค.ศ. ใน 1958  เป็น349  ส่วนต่อ  1  ล้านส่วน  หรือร้อยละ 10  นั้นเอง  การวัดที่กระทำจากฟองอากาศที่ถูกเก็บไว้ในใจกลางภูเขาน้ำแข็งแสดงให้เห็นว่าความเข้มข้นของก๊าซขณะนี้สูงกว่าระดับความเข้มข้นสูงสุด ที่โลกเคยประสบมาในระหว่างแสนหกหมื่นปีที่ผ่านมา

    

   การสำรวจทางดาวเทียม  ความเข้าใจที่มีมากขึ้นเกี่ยวกับมหาสมุทรและตัวแบบสมองกลที่ทันสมัยมากขึ้น  ได้ช่วยทำให้มีความเข้าใจลึกซึ้งขึ้นเกี่ยวกับการทำงานของพลังงานต่างๆ  ที่ซับซ้อนในอากาศของโลกในช่วง  2-3  ทศวรรษที่ที่ผ่านมา  อย่างไรก็ตามในแขนงวิชาที่ทำการทำนายอากาศล่วงหน้าเพียง  3  วันยังไม่สามารถกระทำได้อย่างแม่นยำ   จึงไม่น่าประหลาดใจว่าการคาดหมายสภาพอากาศในระยะยาวจะไม่สามารถกระทำได้โดยการวิเคราะห์อย่างง่ายๆ  เครื่องมือในการวิเคราะห์ที่ใช้ได้ผลมากที่สุด คือ  แบบลำลองการถ่ายเทอากาศของโลก  ซึ่งทำในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่  และประกอบด้วยสถานการณ์จำลองของปรากฏการณ์ของอากาศที่ซับซ้อนหลายแบบของสภาพอากาศของโลก  ภายในต้นทศวรรษที่  80  แบบจำลองเหล่านี้ได้ให้ข้อมูลที่ตรงกันที่แน่นอนว่า  โลกจะร้อนขึ้นสักเท่าใดถ้าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ต่อไปอีก  100 ปีข้างหน้า  ซึ่งก็ใกล้เคียงกับคำทำนายของอาร์เรนนัสใน ค.ศ.  1894  อย่างน่าประหลาดใจ
   อย่างไรก็ตาม  ระหว่างทศวรรษที่  1980  เกิดข้อมูลใหม่ที่น่าหวั่นเกรงขึ้น  สถานีวัดอากาศได้รายงานการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่มีพลังงานสูงกว่าโดยเฉพาะก๊าซมีเทน  สารประกอบไนโตรเจน  และก๊าซคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (CFC)  แม้ว่าก๊าซเหล่านี้แต่ละตัวจะมีอยู่แล้วในบรรยากาศ 
ในปริมาณที่น้อยกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาก  คุณสมบัติของการดูดซับความร้อนได้มากย่อมแสดงว่า  เมื่อรวมกันแล้วการเพิ่มจำนวนก๊าซเหล่านี้ในบรรยากาศทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจกได้มากเท่าๆ  กับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ยิ่งกว่านั้นก๊าซเหล่านี้ยังส่งเสริมซึ่งกันและกันและแต่ละประเภทมีแนวโน้มจะเก็บกักคลื่นกระจายรังสีความร้อนในระดับต่างๆกัน
    ขณะนี้จึงปรากฏว่า  โลกกำลังขึ้นในอัตรา  2  เท่าของที่คิดไว้เมื่อ  5  ปีก่อน  นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าภายใน ค.ศ.  2030  อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะอยู่ระหว่าง  3-8  องศาฟาเรนไฮต์สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง ค.ศ. 1750  และ ค.ศ. 1980  หรือกว่าโลกร้อนกว่าที่โลกเคยเป็นมาก่อนเมื่อ  2  ล้านปีก่อนนี้
ทฤษฎีของนักเคมีชาวสวีเดนนั้นถูกละเลยมาถุงหกทศวรรษและมีสภาพเป็นเพียงความคิดทางวิชาการลอยๆ  ในแง่หนึ่งไม่มีใครแน่ใจไดว่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นจริงๆๆ  หรือไม่  ต่อมาในปี  ค.ศ.  1957  สถาบันสมุทรศาสตร์สคริปป์ (Scripps Institute of Oceanography)  มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ทำการศึกษาและเสนอแนะไว้ว่า  ครึ่งหนึ่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาถูกกักไว้อย่างถาวรในบรรยากาศ  การศึกษาบอกว่ามนุษย์ชาติกำลัง  ย่างก้าวเข้าสู่การทดลองทางภูมิกายภาพที่ยิ่งใหญ่
ข้อดี
ความมืดของยุคที่สังคมเลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วโดยผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงแบบต่างๆ ส่งผลสะเทือนถึงแทบทุกพื้นที่แห่งชีวิตของมนุษย์ ความรู้จึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่มนุษย์ต้องการในทุกสังคมจำต้องใช้ เพื่อสามารถดำรงตนอยู่ในกระเเสเปลี่ยนแปลงทางสังคม เทคนิควิทยา และวิญญาณ

ข้อเสีย
ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ นั้นมิได้เป็นปัญหาที่จำกัดโดยเส้นแบ่งพรมเเดนประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของภูมิภาคและโลกโดยส่วนรวมซึ่งมีผลกระทบถึงกันหมดไม่ว่าจะเป็นปัญหาสารพิษในอากาศ น้ำสกปรก น้ำขาดแคลน การทำลายป่า และอื่นๆ และประเทศที่มีลักษรธทางภูมิศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ คล้ายคลึงกันก็จะมีปัญหาในแบบเดียวกัน
ข้อเสนอแนะ
สังคมที่ยั่งยืนคือสังคมที่สามารถตอบสนองให้สมาชิกได้รับความพึงพอใจโดยไม่ทำอันตรายต่ออนาคตของสมาชิกรุ่นใหม่ๆ แต่น่าเสียดายที่ยังไม่มีตัวแบบของความยั่งยืนคงทนอยู่ในขณะนี้ ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ในหลายทศวรรษที่ผ่านมานี้ได้ตั้งความหวังที่จะมีระบบเศรษฐกิจที่เน้นการใช้รถยนต์ที่วิ่งด้วยพลังงานเชื้อเพลิงจากฟอสซิลหรือซากดึกดำบรรพ์ เช่น ถ่านหินและน้ำมัน แบบเดียวกันกับประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก
   ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นปัญหามลพิษทางอากาศของภูมิภาค หรือปัญหาอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงต่างแสดงให่เห็นได้ชัดเจน สังคมเหล่านี้จะไม่คงทนและกำลังนำตนเองไปสู่อวสานอย่างรวดเร็ว

  Book Review : โดย นายสรรพสิทธิ์  บุญไพโรจน์ รหัสนักศึกษา 5223401616
อ้างอิงจากหนังสือ วิกฤติโลก

4 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

น่าสนใจมากเลยคร้าบบบบ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

น่ากลัวจังมันรุนแรงกว่าที่คิดอีกนะเนี่ย

Save_The_World กล่าวว่า...

ถ้าเราอยู่กับธรรมชาติอย่างเป็นมิตร คงจะไม่เกิด เหตุการณ์แบบนี้นะคับ

อิสรภาพแห่งความคิด สิงห์แสด ม.อุบลฯ กล่าวว่า...

ช่วยกันลดโลกร้อน ด้วยมือของเราคับ ทุกท่าน